วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

รักษาโรคแคงเกอร์ ใน มะนาวให้หายขาด แบบชาวสวนปลอดภัย

การรักษาโรคแคงเกอร์ในมะนาวให้หายขาด โดยไม่ใช้สารเคมี

หรือ สารพิษใดๆ เลย หลักการมี 7 ข้อ 


1 ต้องกำจัด ทำลาย กิ่ง ก้านใบ ที่ติดโรคแคงเกอร์ออก ให้มากเข้าไว้

2 ต้นมะนาวบางต้น ติดโรคอย่างหนักเกินเยียวยา ต้อง ฌาปนกิจซ่ะ

3 ใช้แบคทีเรียดี(พระเอก) ฆ่า แบคทีเรียร้าย(ก่อโรคแคงเกอร์)

4 เพาะขยายพันธุ์แบคทีเรียดี ให้น้ำ ให้อาหาร เลี้ยงให้โต ให้แข็งแรง

5 พ่นเชื้อแบคทีเรียดี ( เชื้อ Killer B คิลเลอร์บี) 4 รอบเพื่อฆ่าล้างบางแบคทีเรียร้าย

6 พ่นเชื้อแบคทีเรียดี (เชื้อ Killer B คิลเลอร์บี )กระตุ้น คุ้มครองมะนาวให้ปลอดโรคแคงเกอร์
 ทุก 2 เดือน

7 ตัดแต่งกิ่งมะนาวให้แดดส่อง ทุก  3 เดือน เพื่อ ลดการสะสม แบคทีเรียร้าย(ก่อโรคแคงเกอร์)


ภาพ ผลการทดสอบประสิทธิภาพ นมหมัก เชื้อ Killer B คิลเลอร์บี






ส่วนผสม
·      หัวเชื้อแบคทีเรีย เชื้อ Killer B คิลเลอร์บี  ชนิดผง 1 ซองเล็ก
·      นมแลตตาซอย 1 กล่อง 500-600 ml
·      น้ำตาลกลูโคส หรือ น้ำตาลทราย 2-3 ช้อนชา

การเตรียม
      ผสมให้เข้ากันในโถพลาสติก ขนาด 5-10 ลิตร หมักไว้ในห้องที่มีอากาศร้อน (อย่าปิดฝา)  แต่ไม่ให้โดนแสงแดด ระหว่างนั้น ควร คนบ่อยๆ  เก็บไว้นาน 4-7 วัน   จึงนำมาใช้ได้  พยายาม อย่าให้มดขึ้นด้วย  เวลาใช้

การเก็บรักษา

  • ไว้ในอุณหภูมิห้อง 25-30 องศา เติม แลตตา ครั้งละ 100 ml ทุก 7 วัน(ห้ามปิดฝา) ยานี้ อยู่ นอกตู้เย็น ได้นาน 35 วัน
  • เก็บในตู้เย็น อุณหภูมิ 2 - 8 องศา ก่อนใช้ ใส่น้ำตาล 2 ช้อนชา  ตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน            24-36 ชั่วโมง  (เก็บในตู้เย็นได้ 6 เดือน )

การใช้งาน 

นำน้ำนมหมักเชื้อเชื้อ Killer B คิลเลอร์บี  ที่ได้ 150 ml ไป ผสมน้ำ 20 ลิตร (อย่าให้มีคลอรีน)  และ ผสมสารจับใบ  20 ml  ในการพ่นใบมะนาว มะกรูด ส้ม ที่เป็นโรคแคงเกอร์ ควรพ่นตอนเย็นจะได้ผลดีกว่า พ่นตอนเช้า

*** กรณี ติดเชื้อแคงเกอร์ที่กิ่งมะนาว ใช้ น้ำนมหมักเชื้อKiller B คิลเลอร์บี
                     ทาที่กิ่งโดยตรงไม่ผสมน้ำ ***





$$$ วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ สารกลุ่มคอปเปอร์ และ สเตรปโตมัยซิน ก็รักษาแคงเกอร์ได้ผล $$$




ปล. ผมได้ทำ แบคทีเรีย  Killer B คิลเลอร์บี  ออกขาย แล้ว ชุด ละ 200 บาท มี 4 ซอง
2 ฃุด 300 บาท  และ 4 ชุด 450 บาท 5 ชุด 500 บาท  ค่าส่งฟรี  โอนเงิน ตามบัญชีกรุงไทย ออมทรัพย์  434-119-3414



โอนเงินแล้ว ติดต่อเภสัชเอก 0823074103
 ส่งหลักฐานการโอนเงินที่
 อีเมล newfrxbaby@gmail.com หรือ https://www.facebook.com/AkeLimeGarden/
ควร ขอเป็นเพื่อนผม ใน facebook ก่อนน่ะครับ





วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เคล็ดวิชา รักษาโรคแคงเกอร์ ใน มะนาวให้หายขาด ตอนที่ 1

เคล็ดวิชา รักษาโรคแคงเกอร์

เนื้อหา ประกอบด้วย

  • พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับโรคแคงเกอร์และแบคทีเรีย
  • หลักการปฏิบัติในการรักษาโรคแคงเกอร์
  • เคล็ดวิชาการรักษาแคงเกอร์แบบเภสัชเอก
  • ตัวอย่าง การรักษาโรคแคงเกอร์แบบเภสัชเอก
  • คำถามทดสอบความเข้าใจผู้เรียน
                โรคแคงเกอร์นั้นมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า Xanthomonas axonopodi. pv citri. กล่าวแบบสั้นๆ ก็คือ โรคแคงเกอร์ สาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียนั่นเอง โรคแคงเกอร์นั้นจะระบาดมากเมื่อมีความชื้นสูง กระแสลมแรง และ หนอนชอนใบเข้าทำลายใบมะนาว หรือ ใบส้ม จะทำให้โรคแคงเกอร์ระบาดมากขึ้น การกำจัดโรคแคงเกอร์เริ่ม จากการตัดกิ่งใบที่เป็นโรคทิ้งไปให้มากที่สุด   โรคแคงเกอร์ มัก พบกับ มะนาว มะกรูด ส้ม  โดยเฉพาะ มะนาวแป้นรำไพ ที่ เป็นมะนาวที่แม่ค้าในตลาด นิยมมากที่สุด เป็น โรคแคงเกอร์ บ่อยมาก  นอกจากนี้ มะนาวแป้นพวง มะนาวแป้นจริยา ก็ อ่อนแอต่อโรคแคงเกอร์  ส่วนมะนาวแป้นพิจิตร กับ มะนาวตาฮิติ ทนต่อโรคแคงเกอร์ดีพอสมควร โรคนี้มักพบที่ใบจะมีรอยโรคเป็นจุดสีน้ำตาล และอาจเกิดแผลที่ใบอาจมีรอยแตกร้าว 


พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับโรคแคงเกอร์และแบคทีเรีย
  1. หลีกเลี่ยงสารเคมี หรือ ยาปฏิชีวนะ หากจำเป็นให้ใช้ สารเคมี ให้น้อยที่สุด
  2. ต้องกำจัดใบ และ กิ่งที่ติดโรคแคงเกอร์ ออกไป เผาทำลายให้มากที่สุด
  3. ใช้แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis)  ในการรักษาโรคแคงเกอร์                              และโรครากเน่าโคนแน่า
  4. บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) ต้องถูกเพาะเลี้ยงด้วยอาหาร ให้เติบโต ขยายพันธุ์ก่อน
  5. บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) ชอบน้ำตาล นม กลูโคส oxygen 
  6. ควรฉีดพ่น บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) ในตอนเย็น 
  7. ไม่ควรให้น้ำที่มีคลอรีนผสมอยู่  เคล็ดวิชา รักษาโรคแคงเกอร์
  8. บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) ชอบกินอาหาร พวกนม และถั่วเหลือง
  9. เราให้แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) ในการรักษาโรคแคงเกอร์
  10. บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) ต้องการอากาศ ที่มีออกซิเจน
  11. แบคทีเรียก่อโรคแคงเกอร์ Xanthomonas axonopodi. pv citri.จะโจมตี พืชเมื่อมีความชื้น และบาดแผลที่ กิ่ง ก้าน และ ใบ
  12. แบคทีเรียก่อโรคแคงเกอร์ Xanthomonas axonopodi. pv citri. ชอบอยู่ในกิ่งมะนาว และอยู่ได้นานในกิ่งมะนาวเป็นเวลาหลายปี
  13. แบคทีเรียก่อโรคแคงเกอร์ Xanthomonas axonopodi. pv citri. อยู่ในดินได้นาน 10 วัน
  14. แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) ตายยาก เพราะ สร้างสปอร์ได้ อยู่ในดิน นานหลายสิบปี เคล็ดวิชา รักษาโรคแคงเกอร์
  15. แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) ไม่ก่อโรคในพืช หรือ เป็นอันตราย ต่อ มนุษย์
  16. แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) อยู่ในอาหาร ใน ขนมถั่วเหม็น  และ เต้าฮู้ญี่ปุ่น
  17. แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) มี หลายร้อยสายพันธุ์
  18. แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) มีงานวิจัย หลายชิ้น ที่ยืนยัน ว่า กำจัด แบคทีเรียก่อโรคแคงเกอร์ Xanthomonas axonopodi. pv citri. ได้
  19. สารเคมี ที่กำจัด แบคทีเรียก่อโรคแคงเกอร์ Xanthomonas axonopodi. pv citri. ใน ท้องตลาด หลักๆ มีอยู่ 2 ชนิด คือ ยากลุ่ม คอปเปอร์ และ สเตรปโตมัยซิน
  20. ยา หรือ สารเคมี ใช้แล้ว จะค่อยๆ หมดใบ แต่ แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) เติบโตได้ ขยายพันธุ์ได้  อยู่ในมะนาวได้นาน หลายปี
  21. แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) สร้าง สารปฏิชีวนะ ที่ฆ่าเชื้อ โรคแคงเกอร์ Xanthomonas axonopodi. pv citri. ได้
  22. แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) สร้าง สารปฏิชีวนะ ที่ฆ่าเชื้อรา ก่อโรครากเน่าได้ คือ เชื้อรากลุ่มไฟท็อปเทอร่า 
เคล็ดวิชา รักษาโรคแคงเกอร์


ผมหาความรู้และ ทำการทดลองอย่างไรจึงแน่ใจว่ารักษาโรคแคงเกอร์ได้
  • โรคแคงเกอร์ ภาษาอังกฤษ คือ citrus canker ผมอ่าน หาข้อมูล เพิ่ม จาก google
  • ผมพบว่า โรคแคงเกอร์( citrus canker )  เกิดจาก แบคทีเรีย Xanthomonas axonopodi. pv citri.
  • ผม หาเอกสารทางวิชาการที่ น่าเชื่อถือ มาอ่านเพิ่ม
  • ผมทดลอง นำ แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) ในมะนาวของผม
  • โดยผม ต้องปรุง น้ำกระสายบยา หรือ สารที่ใช้เพาะขยายเชื้อ บาซิลลัส ซับทิลิส
  • ผมพัฒนาเทคนิค การพ่น การผสม การเพาะขยายเชื้อ บาซิลลัส ซับทิลิส
  • ผมทดสอบ วิธีัการทั้งหมด ( การพ่น การผสม การเพาะขยายเชื้อ) ว่า รักษาโรคแคงเกอร์ในมะนาวได้หรือไม่
  • ผมทดลองซ้ำอีก 5 ครั้ง ในมะนาวแป้นรำไพ แป้นพวง มะนาวน้อย แป้นดกพิเศษ พบว่า แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) รักษาโรคแคงเกอร์ได้จริง
  • ผมติดตาม ต่ออีก 8 เดือน ไม่พบการระบาดซ้ำ ของโรคแคงเกอร์ในมะนาว
  • ผมสรุปว่า วิธีการรักษาโรคแคงเกอร์โดยใช้ บาซิลลัส ซับทิลิส แบบเภสัชเอกได้ผลดีมาก
ข้อมูล ของ แบคทีเรียก่อโรคแคงเกอร์ Xanthomonas axonopodi. pv citri.


Species Name:   Xanthomonas axonopodis citri
Common Name:               Citrus Canker

I.  TAXONOMY

Kingdom Phylum/Division: Class: Order: Family: Genus:
Bacteria Proteobacteria Gamma Proteobacteria Xanthomonadales Xanthomonadaceae Xanthomonas

เคล็ดวิชา รักษาโรคแคงเกอร์

Citrus tree leaves showing evidence of citrus canker, the result of infection by the non-native bacterial pathogen Xanthomonas axonopodis pv. citri. Photograph courtesy USDA/ARS.
  

Citrus canker infection is evident on this fruit. Photograph courtesy USDA/APHIS. Photographer R. Anson Eaglin.

Species Name:  
Xanthomonas axonopodis pv. citri

Common Name:
Citrus Canker

Synonymy:
Xanthomonas axonopodis Hasse, 1915
Xanthomonas campestris pv. citri Dye
Xanthomonas citri ex Hasse

เคล็ดวิชา รักษาโรคแคงเกอร์

Species Description:
Citrus canker is a disease of cultivated citrus plants caused by nonindigenous bacterial pathogen Xanthomonas axonopodis pv. citri ('Xac'). 

Genus Xanthomonas consists of gram-negative, rod-shaped, polarly-flagellated bacteria whose members commonly occur as serious plant pathogens. Colonies are typically yellow in color due to the presence of a particular carotenoid pigment identified through relatively simple screening procedures and generally indicative of the genus (Starr and Stephens 1964).

ข้อมูลโรคแคงเกอร์ จากองค์กรระดับโลก

http://www.apsnet.org/edcenter/intropp/lessons/prokaryotes/Pages/CitrusCanker.aspx
Citrus canker
Gottwald, T.R. 2000. Citrus canker. The Plant Health Instructor. DOI: 10.1094/PHI-I-2000-1002-01
Updated 2005.

DISEASE: Citrus canker

PATHOGEN: Xanthomonas axonopodis pv. citri and Xanthomonas axonopodis pv. aurantifolii

HOSTS: Numerous species, cultivars, and hybrids of citrus and citrus relatives including orange, grapefruit, pummelo, mandarin, lemon, lime, tangerine, tangelo, sour orange, rough lemon, calamondin, trifoliate orange, and kumquat.

Authors
Tim R. Gottwald, USDA, ARS, Orlando, Florida
James H. Graham, University of Florida, Lake Alfred, Florida


Canker infected fruit, foliage, and stems.
(Courtesy T.R. Gottwald, copyright-free)

Symptoms and Signs
Citrus canker can be a serious disease where rainfall and warm temperatures are frequent during periods of shoot emergence and early fruit development. This is especially the case where tropical storms are prevalent. Citrus canker is mostly a leaf-spotting and fruit rind-blemishing disease, but when conditions are highly favorable for infection, infections cause defoliation (Figure 2), shoot dieback, and fruit drop.


Figure 2

Leaf Lesions: Citrus canker lesions start as pinpoint spots and attain a maximum size of 2 to 10 mm diameter (Figure 3). The eventual size of the lesions depends mainly on the age of the host tissue at the time of infection and on the citrus cultivar. Lesions become visible about 7 to 10 days after infection on the underside of leaves and soon thereafter on the upper surface. The young lesions are raised or ‘pustular’ on both surfaces of the leaf, but particularly on the lower leaf surface (Figure 4). The pustules eventually become corky and crateriform with a raised margin and sunken center. A characteristic symptom of the disease on leaves is the yellow halo that surrounds lesions (Figure 5). A more reliable diagnostic symptom of citrus canker is the water-soaked margin that develops around the necrotic tissue (Figure 6), which is easily detected with transmitted light.


Figure 3
Figure 4

Figure 5
Figure 6

Fruit and Stem Lesions: Citrus canker lesions on fruit (Figure 7) and stems (Figure 8) extend to 1 mm in depth, and are superficially similar to those on leaves. On fruit, the lesions can vary in size because the rind is susceptible for a longer time than for leaves and more than one infection cycle can occur (Figure 9). Infection of fruit may cause premature fruit drop but if the fruit remain on the tree until maturity such fruit have reduced fresh fruit marketability. Usually the internal quality of fruit is not affected, but occasionally individual lesions penetrate the rind deeply enough to expose the interior of the fruit to secondary infection by decay organisms (Figure 10). On stems, lesions can remain viable for several seasons. Thus, stem lesions can support long-term survival of the bacteria

เอกสารแสดงกลไกการติดเชื้อโรคแคงเกอร์ในพืช

http://www.formatex.info/microbiology2/196-204.pdf

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หนอนชอนใบ ใบมะนาว และ แคงเกอร์

หนอนชอนใบ มะนาว


หนอนชอนใบ จะ เข้า ทำลายใบอ่อน ใบแก่มะนาว ทำให้ใบมีแผล และ โรคแคงเกอร์ จะตามมา

หนอนชอนใบ ศัตรูร้ายของพืชตระกูลส้ม มะนาว มะกรูด เป็นได้เหมือนกันทั้งนั้น

หนอนชนิดนี้เกิดจากผีเสื้อกลางคืนตัวเล็กๆ ไม่เกิน 1 ซม. จะบินมาวางไข่เดี่ยวๆ

บนใบและใต้ใบ บริเวณใกล้เส้นกลางใบ จากนั้น 3-5 วัน จะฟักตัวออกจากไข่ แล้ว

หนอนชอนใบ มะนาว

หนอนชอนใบ    จะเจาะแวกซ์ หรือ ผิวเคลือบใบ แล้วค่อยๆ สอดตัวเข้าคืบคลานกัด


กินเนื้อเยื่อใบไป 5-10 วัน จนกลายเป็นลายเส้น ใบจนบิดเบี้ยวผิดรูป หงิกงอ ขอบใบ

ม้วนเข้าหาเส้นกลางใบ ส่งผลให้ต้นแคระแกร็น ไม่ติดผล นอกจากนั้นจุดที่ หนอนชอนใบ

เจาะไว้ ยังเป็นช่องทางให้เชื้อโรค เชื้อราและแบคทีเรียตามมาทำร้ายต้นมะนาวได้อีกด้วย



ยาปราบหนอนชอนใบที่ได้ผลได้แก่ สตาร์เกิ้ล แจ็คเก็ต โปรวาโด และ Cypermethrin

โดยเมื่อมะนาว แตกใบอ่อน เราจะใช้ สูตร 1 4 8 ในทันที

อ่านเพิ่มที่ไทยรัฐ http://www.thairath.co.th/content/470360


วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การคุมยอดอ่อน ด้วยยาฆ่าแมลง สูตร 1 4 8 มัน คืออะไร

เมื่อมะนาวแตกยอด แตกใบอ่อน หนอน และ เพลี๊ยะ จะ เข้าทำลายใบอ่อน

เมื่อใบอ่อน มะนาวถูกทำลาย มักจะมี โรคแคงเกอร์ตามมา ทำให้ใบมะนาว

และกิ่งมะนาวถูกทำลาย ทำให้มะนาวโตช้า  และ อาจถึงตายได้เลย

มะนาวที่แตกใบอ่อน แมลง และ หนอน จะชอบมากๆ...
.
ที่เรากลัว คือ พวกหนอนชอนใบ และ เพลี๊ยะไฟ ..........



เมื่อใบอ่อนมะนาวถูกทำลาย ทำให้ การสังเคราะห์แสงลดลง

มะนาวจะโตช้า  และ ขาดความสมบูรณ์ เป็นอุปสรรค ในการออกดอกมะนาว

การพ่นยาฆ่าแมลงสูตร 1  4 8 คือ การพ่นยา 3 รอบ โดย เมื่อพบมะนาวแตกยอดอ่อน

ออกมา มาก ให้ พ่นยา ใน วัน ที่ 1  วันที่  4  และ วันที่ 8 จะช่วย

ปกป้องยอดอ่อน ใบ มะนาว ไม่ให้ หนอน และ เพลี๊ยะมาทำลาย

ทำให้ใบมะนาว สวยสมบูรณ์ ส่งผล ให้ การสังเคราะห์แสงดีเยี่ยมเต็ม 100


เมื่อการสังเคราะห์แสงดี ทำให้ ต้นมะนาวโตเร็ว สมบูรณ์ พร้อมออกดอก ภายใน 6 เดือน

และ การที่ใบสวยสมบูรณ์ จะทำให้มะนาว มีการสะสม อาหารได้มาก พร้อม จะออกดอก ออกผล

สูตร 148 สูตรน้ำมัน ECวันที่ 1 ใช้ โปรวาโด้ 1 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร แล้วพ่น

วันที่ 4   ใช้  คาราเต้ 20 cc ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นตอนเย็น (มีผลห้ามพ่น)

วันที่ 8 ใช้ อะบาเม็กติน 10 cc ผสม น้ำ  20 ลิตร พ่นตอนเย็น  (มีผลห้ามพ่น)


** เราสามารถใช้ อิมิดาคลอพริด แบบน้ำ แทน โปรวาโดได้
อิมิดาคลอพริด


การเลือก สารกำจัดแมลง 3 ตัว คือ  โปรวาโด้ คาราเต้  และ  อะบาเม็กติน
เพราะ สารทั้ง สามตัว หาง่าย มีฤทธิ์แรง ราคาไม่แพง
หาก ไม่มี โปรวาโด ใช้ ยาอื่นแทน ที่ มียา อิมิดาคลอพริด ได้ เช่น ชาด้า
การใช้ 3 ตัว สลับกันเพราะ ป้องกันการดื้อยา  และ สาร 3 ตัว นี้ สามารถ

คาราเต้

คาราเต้ กำจัด หนอนชอนใบ เพลี้ยไก่แจ้  และ เพลี๊ยะไฟ .........ได้ดีมาก


ฟิโพรนิล
                                        ฟิโพรนิล กำจัดปลวก และเพลี้ยไฟ ได้ดีมากกกกกก


สูตร 1   4    8 ดัดแปลงมาจาก สูตร  1   4  7 ของ รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี

นอกจากนี้ เราสามารถใช้ เซพวิน 85 หรือ ฟิโพรนิล มาใช้ในสูตร 1-4-8 อีกด้วย



สูตร 148 สูตรน้ำ(พ่นช่วงติดผลได้)วันที่ 1 ใช้ เซพวิน 85   40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

วันที่่ 4 ใช้ โปรวาโด  2 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ชาด้า 20 ซีซี

วันที่ 8 ใช้ ฟิโพรนิล  25 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร 










วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เพลี้ยไฟ ทำลายใบอ่อน และ ผลอ่อนมะนาว

เพลี้ยไฟพริก

เพลี้ยไฟพริก หรือ chilli thrips ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Scirtothtips dorsalis Hood

ในมะนาว คือ เพลี้ยไฟพริก แมลงคนละชนิดกับ เพลี้ยไฟฝ้าย 

เพลี้ยไฟจะเข้าทำลายใบอ่อน และ ผลอ่อนมะนาว เสียหาย

ใบมะนาว จะหงิกงอ ลีบ ใบเล็กลง จาก เพลี้ยไฟ ได้













เพลี้ยไฟ ทำให้ ลูกมะนาว จะมีรอย ด่างๆ ขาวๆ ผิวมะนาวด้าน ไม่สวย

เพลี้ยไฟ ตายยาก ระบาดง่าย  ดื้อยาปราบศัตรูพืชได้ ง่าย

จึงต้องใช้ยาฆ่าแมลง อย่างน้อย 2 ชนิด สลับกัน ตาม สูตร 1 4 8 มาปราบ เพลี้ยไฟ


ใบมะนาวถูกเพลี้ยเล่นงาน






เพลี้ยไฟเป็นแมลงศัตรูพืชขนาดเล็ก มีสีเหลืองนวล เหลืองปนน้ำตาล

 น้ำตาลเข้มและสีดำ มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ปีกมีลักษณะเป็นแผ่น

บางใส มีขนยาวรอบขอบปีก  ปีกแบนราบขนานกันบนสันหลังหรือสามารถ

ซ้อนลำตัวได้ ส่วนท้องมีลักษระเรียวยาว มีจำนวนปล้อง 10 ปล้อง


ผลมะนาวที่ถูกเพลี้ยไฟ


 เพลี้ยไฟ เป็นแมลงที่มีเขตการแพร่กระจายไปทั่วโลก ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย

สามารถทำลายพืชได้     โดยใช้กรามเขี่ยวดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืชในส่วน

ยอด ตาอ่อน ใบ ดอกและผล ทำให้ใบเกิดรอยด่าง สีซีด หรือทำให้ขอบใบแห้ง

 ตาอ่อนชะงักการเจริญเติบโต กลีบดอกมีสีซีด โดยเฉพาะกลีบดอก

ที่มีสีเข้มจะเห็นการทำลายได้อย่างชัดเจน บางครั้งพบลักษณะเป็นรอยแผลสีน้ำตาล

ตัวยา อะบาเม็กติน



ยาปราบ เพลี๊ยไฟ ได้ดี คือ โปรวาโด (อิมิดาคลอพริด)  ฟิโพรนิล และ แจคเก็ต (อะบาเม็กติน)

โดยเมื่อมะนาว แตกใบอ่อน เราจะใช้ สูตร 1 4 8 ในทันที



โปรวาโด หรือ ยา อิมิดาคลอพริด

แจ็คเก็ต คือ ยา อะบาเม็กติน (เข้าน้ำมัน)

ฟิโพลนิล


นอกจากนี้ ยังใช้ยา ฟิโพรนิล ได้ผลดี ในการกำจัดเพลี้ยไฟ หนอน ปลวก อีกด้วย





สำหรับ  ยาที่กำจัดเพลี้ยไฟ ได้ดีมาก ก็คือ โปรวาโด (อิมิดาคลอพริด )

โดยผสม โปรวาโด 2 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร สลับกับ แจคเก็ต  หรือ ฟิโพรนิล

รับรองเพลี้ยไฟ จะตายเรียบไปจากสวนมะนาวของคุณแน่นอน


อิมิดาคลอพริดแบบผง


นอกนี้ อิมิดาคลอพริด ยังมียาในรูปแบบน้ำ ที่ใช้ง่ายได้ผลดีอีกด้วย ตามภาพ คือ ยี่ห้อ ชาด้า


โดย ผสม ชาด้า  ตัวยา อิมิดาคลอพริด 10%  จำนวน  30 มิลลิลิตร ต่อ น้ำ  20 ลิตร

***อย่าลืมผสมสารจับใบด้วย****


อิมิดาคลอพริด น้ำ 10%



ยาฆ่าแมลงที่ใช้ในเกษตรอินทรีย์ ที่กำจัดเพลี้ยไฟได้

  1. ไวท์ออย หรือ ปิโตเลี่ยมออยล์
  2. เชื้อรา บิววาเรีย 






การป้องกันเพลี้ยไฟ 
1 ใช้ การพ่นละอองน้ำให้ทั่วสวน เวลาอากาศแห้ง จะลดการระบาดเพลี้ยไฟลงได้ 80%
2 การใช้ เชื้อรา บิววาเรียฉีดพ่น ในช่วงระบาดทุกสัปดาห์ จะลดคามรุนแรงลงได้ 70%


วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558

การปลูกมะนาวใหม่



1 ควรปลูก ตอนเย็น และ มีน้ำรดมะนาวตลอด 14 วันแรก

เลือกมะนาวในถุงดำที่อนุบาลไว้อย่างน้อย 14 วัน

ให้ จุ่มรากมะนาว ด้วยไตรโครเดอร์ม่า หรือ แบคทีเรีย คิลเลอร์บี

ก่อนปลูกเสมอ  เพราะช่วยป้องกันโรครากเน่า โคนเน่าได้


2 เตรียมไม้ปักพยุงต้นมะนาว ยาวสัก 50  cm


3 แกะมะนาว จากถุงดำ  นำมาวางในหลุมปลูก

โดยมีดินดีๆ รองไว้แล้ว สัก 25 cm ปลูกระดับ 10-15 cm



4 รองก้นหลุ่มด้วย ปุ๋ยละลายช้า และ สตาร์เกิ้ลจี

อย่างละ 1-2 ช้อนชา ต่อมะนาว 1 ต้น



5 รดน้ำ ทุกวัน จนมะนาวเริ่มแตกยอดใหม่


6 เมื่อมะนาว แตกยอดใหม่ ใช้สารกำจัดแมลงสูตรคุมยอด 1-4-8

วันที่ 1 ใช้ Cypermethrin 35% 15 cc ต่อน้ำ 20 ลิตร  +สารจับใบ
วันที่ 4 ใช้ โปรวาโด้  2 กรัม  ผสมน้ำ 20 ลิตร +สารจับใบ แล้วพ่น
วันที่ 8 ใช้ เซพวิน   40 กรัม  ผสมน้ำ 20 ลิตร  +สารจับใบ แล้วพ่น

*พ่นแบคทีเรีย คิลเลอร์บี  1 ครั้ง พอมะนาวครบ 14 วัน



7 พ่นปุ๋ยทางใบ สูตรโยกหน้าทุก 14 วัน
ใน 2 เดือนแรก

8 พอมะนาว ครบ 2  เดือน ให้น้ำ วันเว้นวัน

9 และ ใช้ปุ๋ยยาร่า สูตร 21-7-14   หรือ ใส่ปุ๋ยทางดิน 15-15-15+ยูเรีย+0-0-60 ตามขนาดทรงพุ่ม ทุก 2 เดือน

*พ่นใบแบคทีเรีย คิลเลอร์บี  1 ครั้ง+ ราดดิน   พอมะนาวครบ 3 เดือน

10 ปรับ pH ดิน 6.0-7.0 ทุก 4 เดือน


หากดินเป็นกรด มาก ให้ ทยอย ใส่ ปูนขาว ทุก  7 วัน ปรับจนได้   pH ดิน 6.0-7.0

แล้วติดตามวัด  pH  ทุก 4 เดือน
* ตัดแต่งกิ่ง ตามสูตร รศ.ดร.รวี เมื่อมะนาวครบ 4 เดือน

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

เชื้อ BS บาซิลัส ปราบแคงเกอร์ ทดสอบแล้ว ได้ผลลัพธ์ยอดเยี่ยม

เชื้อ BS บาซิลัส ปราบแคงเกอร์


โรคแคงเกอร์ กวนใจ ชาวสวนมะนาว มะกรูด มาก เพราะ โรคแคงเกอร์ นั้น ทำลายใบ

ทำลายกิ่ง  และ ทำลายผล มะกรูด มะนาว ให้เสียหายมาก  และรักษายาก เป็นแล้ว

เป็นอีก  ทำให้เกษตรกร ต้องใช้ยากลุ่ม คอปเปอร์ และ สเตรปโตมัยซิน บ่อยๆ ซึ่งมีข้อเสีย

ได้แก่

1  คอปเปอร์ คือ ทองแดง พ่นบ่อยๆ เกิดพิษสะสม ของทองแดง ส่งผลเสีย ต่อระบบนิเวศมากมาย

2 สเตรปโตมัยซิน เป็น ยาปฏิชีวนะ ใช้ในการรักษาโรควัณโรค ใน คน การใช้ ยา สเตรปโตมัยซิน

ในสวนมะนาว จะส่งผลทำให้ เชื้อวัณโรค ในมนุษย์ดื้อยา ตัวนี้ได้ โดยเฉพาะการใช้ในแปลงปลูก

3 คอปเปอร์ และ สเตรปโตมัยซิน มีราคาแพง ต้องพ่นบ่อยๆ จึงจะควบคุมโรคแคงเกอร์ได้

ทางออก ในการคุมโรคแคงเกอร์ แบบปลอดสารพิษ คือ การใช้ น้ำนมหมักเชื้อ BS

เชื้อ BS คือ เชื้อ บาซิลลัส ซับทิลิส ที่กำจัดแบคทีเรีย ก่อโรคแคงเกอร์ได้ดีมากๆ

และ เชื้อ BS ยังสามารถ กำจัดเชื้อรา ไฟท็อปเทอร่า ที่ก่อโรครากเน่า โคนเน่าได้ดีอีกด้วย

ดังนั้น การใช้ เชื้อ BS จึงสามารถควบคุมได้ ทั้งโรคแคงเกอร์ และ โรครากเน่า โคนเน่า

การเตรียมนมหมัก เชื้อ BS Bacillus Subtilis 
ส่วนผสม
·      หัวเชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis)  ชนิดผง 1 ช้อนชา
·      นม UHT รสหวาน 1 กล่อง 250 ml
·      นมแลตาซอย 1 กล่อง 250 ml
·      น้ำตาลกลูโคส หรือ น้ำตาลทราย 3 ช้อนชา

การเตรียม

      ผสมให้เข้ากันในขวดน้ำอัดลมพลาสติก ขนาด 1.25 ลิตร หมักไว้ในห้องที่มีอากาศร้อน (อย่าปิดฝาแน่น)  แต่ไม่ให้โดนแสงแดด  เก็บไว้นาน 48-60 ชั่วโมง จึงนำมาใช้ได้  พยายาม อย่าให้มดขึ้นด้วย  เวลาใช้ นำน้ำยาที่ได้ 150 ml ไป ผสมน้ำ 20 ลิตร และ ผสมสารจับใบด้วย ในการพ่นใบมะนาว มะกรูด ส้ม ที่เป็นโรคแคงเกอร์ ควรพ่นตอนเย็นจะได้ผลดีกว่า

การใช้งานน้ำนมหมัก เชื้อ BS

น้ำนมหมัก เชื้อ BS  150 cc ผสม น้ำปลอดคลอรีน 20 ลิตร และ สารจับใบ 25 cc
ฉีดพ่นให้ทั่วใบ กิ่งมะนาว  และ พื้นดิน ใต้ต้นมะนาวให้ทั่ว ในการพ่่น น้ำนมหมักเชื้อ BS
ให้พ่น 3 ครั้ง ก่อน โดย สูตร 1  4  8  แล้ว ต่อมาให้พ่น น้ำนมหมัก เชื้อ BS เดือนละ 1 ครั้ง
จนโรคแคงเกอร์หายไป จากสวนมะนาว มะกรูด

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การเตรียมหลุมปลูกมะนาวลงดิน

ในการปลูกมะนาวลงดิน ควรไถดินให้เป็นลูกฟูก สูงจากพื้น ราว ๆ 50-80 cm

เพื่อป้องกันน้ำขัง และโรครากเน่าโคนเน่า  โดยการยกลูกฟูก จะบังคับมะนาว

ให้อดน้ำ ขาดน้ำได้ดีกว่าปลูกลงดินธรรมดา ทำให้ออกดอกได้ง่ายกว่าเดิม

โดยควรมีการเพิ่มปุ๋ยพืชสดในดิน เพื่อปรับปรุงดิน ผมแนะนำให้ปลูกปอเทือง

รอจนออกดอก แล้วไถกลบ ทำให้ดิน มีอินทรีย์ว้ตถุเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว

นอกจากนี้ ปอเทืองยังให้ไนโตรเจนในดินได้ อีกด้วย น่ะครับ หากปลูกปอเทือง

2 รอบ ก่อนปลูกมะนาว ภายใน 2 ปี แรก ไม่ใส่ปุ๋ยคอก ให้มะนาว ก็ยังได้ครับ



การขุดหลุม ควร กว้าง 50 cm ลึก  40 cm หลังจากนั้น

ตากหลุมให้โดนแดด สัก 7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค ให้รอง ก้นหลุม

ด้วยทรายหยาบ แกลบดิบ  แกลบเผา และ  ปุ๋ยคอกเก่า (กรณีไม่มีปอเทือง)

โดยผสมดินรองก้นหลุมสัก  28 cm ปรับ pH ดินที่ 6.0-7.0 


อีก 12 cm เอาไว้ปลูกมะนาวครับ  หากจะป้องกันโรครากเน่า ควรโรยด้วย

หัวเชื้อหยาบของ ไตรโคเดอร์ม่าก่อนปลูก ครับผมโดยใส่ 2 ช้อนช้า

แล้วราดน้ำให้พอเปียก อาจใช้ หัวเชื้อหยาบ คลุกผสมกับกินปลูกได้



วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การอนุบาลมะนาวกิ่งตอนก่อนปลูก

เมื่อได้กิ่งตอนมะนาวมาล้าง ทำความสะอาด ตัดแต่งกิ่ง ใบที่เสียหาย หรือ มากเกินออก

หากกิ่งมีโรคแคงเกอร์ให้ ตัดใบ+ กิ่ง ที่เป็นโรคทิ้ง แล้วแช่  Super C ( 1 ซอง ต่อ น้ำ 100 ลิตร)



นาน 30-45  นาทีก่อนเพื่อ ฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับกิ่งพันธุ์

หลังจากนั้น ล้างน้ำเปล่าให้สะอาด เต็มที่

ต่อมา นำกิ่งตอน  แช่กิ่งใน น้ำผสมเชื้อ BS   หรือ Killer B นาน 30 นาที โดยแช่ให้กิ่งตอนจมมิดน้ำ

 ทั้งกิ่ง นำมาชำลงถุงดำ โดยใฃ้ดินผสม หรือ แกลบเผา+ ทรายหยาบ+ขุยมะพร้าว  ไว้ในร่ม แดดพอรำไร

โดยอนุบาลไว้สัก 14 -21 วันกำลังดี โดยควรรดน้ำแต่น้อย ทุกๆ วัน พอชื้น อย่าได้ขาด



อาจควบคุมโรคแคงเกอร์ และ รากเน่าโคนเน่า โดยใช้เชื้อแบคทีเรีย BS หรือ Killer B 

รดมะนาว ทุก 5 วัน สามารถใช้ สตาร์เกิ้ลจี โรย ในถุงดำ 1-2 ช้อนชา เพื่อป้องกันหนอนเพลี๊ยะ

ใส่ในถุงดำ เลย



และ อาจใส่ปุ๋ย ออสโม้โค้ท 13-13-13 1 ช้อนชาเพื่อให้ ธาตุอาหารต่างๆ

วัสดุปลูกที่ใช้ ในถุงดำที่ดี ควรเป็นทรายหยาบ แกลบดำ  และ ขุยมะพร้าว

ในสัดส่วน  4:   1:   1 โดย แกลบดำ ควรล้างแช่น้ำสัก 1-2 คืนก่อนใช้



เป้าหมายในการอนุบาลมะนาวคือ

1 เพื่อ ให้รากมะนาวเดินดีเต็มที่

2 เพื่อ กำจัดควบคุมโรคแคงเกอร์และกิ่งที่ไม่จำเป็น


การใช้ Killer B

ประโยชน์
ป้องกัน และ รักษาโรคแคงเกอร์ + โรครากเน่าโคนเน่า

รักษา แคงเกอร์ รากเน่า โคนเน่า
สินค้า Killer B

การใช้งาน
1 Killer B 1ซองเล็ก
2 ผสม แลคตาซอย 500 มิลลิลิตร + น้ำตาล 5 ช้อนชา
3 เติมน้ำ 200 มิลลิลิตร
4 ผสมให้เข้ากันในภาชนะ ขนาด 1,500-10,000 มิลลิลิตร
(ขนาดยิ่งใหญ่ ยิ่งดี )
5 เขย่า หรือ คนให้เข้ากันวันละ 4 ครั้ง
หรือ เปิด ออกซิเจน นานวันละ 60 นาที
6 ตั้งทิ้งไว้ นานอย่างน้อย  3- 5 วัน แต่ไม่เกิน 10 วัน

*** อาจเกิดฟอง แก๊ส กลิ่น หรือ การแยกชั้น ของนมได้***

การผสมเพื่อใช้งาน
Killer B ที่หมักแล้ว จำนวน 100 ถึง 200 มิลลิลิตร ผสม น้ำ 20 ลิตร
และ น้ำยาล้างจาน 20 มิลลิลิตร 
ฉีดพ่นให้ทั่วทุกใบ หรือ ดินรอบๆ โคนต้น+ ทรงพุ่ม





 

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

รากเน่า โคนเน่า อันตรายที่สุด ของมะนาว

มะนาว เมื่อ รากเน่า โคนเน่า แล้ว หากไม่รีบรักษา ต้นมะนาวตายแน่นอน
ดังนั้น เราต้องป้องกันไม่ให้มะนาวเกิด รากเน่า โคนเน่า สาเหตุก็คือ

1 ความชื้นสูง
2 หลุมปลูกลึกเกินไป
3 รากมะนาว ขาด O2
4 ดินกรด หรือ ด่างเกินไป
5 เชื้อราบางชนิด



อาการของมะนาวรากเน่า คือ ใบจะเหลือง หรือ ใบเหี่ยวจากยอดก่อน ต่อมาใบจะร่วง

กิ่งมะนาวก็ จะค่อยๆ แห้งตาย ตาม ต่อมา ต้นมะนาว ก็จะตาย

การป้องกันโรครากเน่า

1 ปลูกมะนาวในดินร่วน ดินทราย การระบายน้ำต้องดี เมื่อไม่มีน้ำขังรากก็ได้ Oxygen เพียงพอ

2 ยกร่องให้สูง อย่างน้อย 50 cm หากเป็นที่ลุ่ม ต้องยกร่องสูง 90 cm เพื่อไม่ให้น้ำขัง น้ำมาก

เชื้อราเติบโตดี เชื้อราไฟทอปเทอร์ร่า ทำลาย รากมะนาวได้ดีมาก

3 เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส กำจัด ป้องกันเชื้อราได้ดี ควรใส่เชื้อลงในดิน

4 อย่าขุดหลุมลึก  เพราะรากมะนาวลึก น้ำจะขังง่าย ขาด Oxygen ง่ายรากก็ตายได้

ขุดหลุมปลูกมะนาว สัก 30-40 cm ใส่ดินสัก 15-20 cm เอามะนาวปลูกที่ความลึก 15 cm พอ

5 ยาเมทาแล็กซิล ใส่ดิน ตอนปลูกมะนาว  และใส่เพิ่มปีละ 1 -2 ครั้ง ขึ้นกับความชื้นในดิน

6 รดน้ำเท่าที่จำเป็น ปกติ มะนาว รดน้ำทุก 3 วัน ยกเว้น ช่วงก่อนออกดอก ต้องงดน้ำ

ช่วงมะนาวออกดอก  หรือ ปลูกใหม่ๆ ต้องให้น้ำน้อยๆ แต่ให้ทุกวัน


7 ปรับ pH ดินให้ได้ 6.0 -7.0 โดยตรวจสอบ pH ดินปีละ 2 ครั้ง


วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แคงเกอร์ canker อุปสรรคแรกที่ชาวสวนมะนาวต้องเจอ

                  โรคแคงเกอร์ มัก พบกับ มะนาว มะกรูด ส้ม  โดยเฉพาะ มะนาวแป้นรำไพ ที่ เป็นมะนาวที่แม่ค้าในตลาด นิยมมากที่สุด เป็น โรคแคงเกอร์ บ่อยมาก  นอกจากนี้ มะนาวแป้นพวง มะนาวแป้นจริยา ก็ อ่อนแอต่อโรคแคงเกอร์  ส่วนมะนาวแป้นพิจิตร กับ มะนาวตาฮิติ ทนต่อโรคแคงเกอร์ดีพอสมควร โรคนี้มักพบที่ใบจะมีรอยโรคเป็นจุดสีน้ำตาล และอาจเกิดแผลที่ใบอาจมีรอยแตกร้าว 


 นอกจากนี้ อาจพบรอยโรคที่กิ่ง ก้าน ลำต้น และผลได้โดยโรคแคงเกอร์นั้นมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า Xanthomonas axonopodi. pv citri. กล่าวแบบสั้นๆ ก็คือ โรคแคงเกอร์ สาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียนั่นเอง โรคแคงเกอร์นั้นจะระบาดมากเมื่อมีความชื้นสูง กระแสลมแรง และ หนอนชอนใบเข้าทำลายใบมะนาว หรือ ใบส้ม จะทำให้โรคแคงเกอร์ระบาดมากขึ้น การกำจัดโรคแคงเกอร์เริ่ม จากการตัดกิ่งใบที่เป็นโรคทิ้งไปให้มากที่สุด  และใช้สารประกอบ copper หากมีการรบาดของโรคมาก  โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. ตัดแต่งกิ่งใบที่เป็นโรคทิ้ง
  2. ระบาดมาก ใช้สารประกอบ copper ยี่ห้อ ฟังกูราน หากระบาดน้อย ใช้นมหมักแบคทีเรีย BS
  3. หลังจาก พ่น ยาตาม ข้อ 2 ได้สามวันให้ พ่น นมหมักแบคทีเรีย BS อีก 3 ครั้ง โดยพ่น ทุก 7 วัน
  4. ราดโคนต้นมะนาว ด้วย นมหมักแบคทีเรีย BS ปีละ 1 ครั้ง 
  5. หลังจากโรคแคงเกอร์สงบแล้ว พ่น นมหมักแบคทีเรีย BS ทุก 1 เดือน ในกรณีที่โรคแคงเกอร์ไม่ระบาดครบ 6 เดือน เปลี่ยน เป็นพ่น นมหมักแบคทีเรีย BS ทุก 2 เดือน

หมายเหตุ ควรผสมสารจับใบ และ พ่นนมหมักแบคทีเรีย BS ในตอนเย็น  


การเตรียมสารเพาะเชื้อ แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส
ส่วนผสม
  • หัวเชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) ผง 1 ช้อนชา หรือ Killer B 1 ซอง
  • นมแลตาซอย 1 กล่อง 500 ml
  • น้ำตาล 5 ช้อนชา 

การเตรียม
ผสมให้เข้ากันในขวดน้ำอัดลมพลาสติก ขนาด 1.25 ลิตร หมักไว้ในห้องที่มีอากาศร้อน (อย่าปิดฝาแน่น) แต่ไม่ให้โดนแสงแดด เก็บไว้นาน 48-72 ชั่วโมง จึงนำมาใช้ได้ พยายาม อย่าให้มดขึ้นด้วย เวลาใช้ นำน้ำยาที่ได้ 100 ml ไป ผสมน้ำ 20 ลิตร ในการพ่นใบมะนาวที่เป็นโรคแคงเกอร์ 

ยา Killer B ฆ่า แคงเกอร์โหดสัส


เลิกกลัว โรคแคงเกอร์อีกต่อไป เพราะวันนี้ เรามียาKiller B
ผมเภสัชเอก รับรองผลว่า Killer B ปราบแคงเกอร์ได้แน่นอน
การใช้งาน Killer B 1 ซอง ผสม แลคตาซอย 500 มล
.+ น้ำตาล 5 ช้อน หมักนาน 5 วัน เต็ม

Killer B 4 ซอง ราคา 200 บาท
Killer B 8 ซอง ราคา 300 บาท
Killer B 16 ซอง ราคา 450 บาท
Killer B 21 ซอง ราคา 500 บาท

ฟรีค่าส่ง แบบ EMS โอนเงินแล้ว

โอนเงิน บัญชีกรุงไทย 4341193414 ศุภรักษ์ ศุภเอม

โทร ติดต่อ 082-3074103

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เตรียมกิ่งพันธุ์ก่อนปลูกมะนาว ต้องทำอย่างไร

กิ่งพันธุ์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดบ้านเรา มี 3 ประเภท ได้แก่


1 กิ่งตอน
2 กิ่งชำ
3 ต้นตอส้มหรือมะขวิด ต่อยอดมะนาวพันธุ์ดี

1 กิ่งตอน เป็นกิ่งที่นิยม มากที่สุด เพราะ มัน ขนส่งสะดวก ลูกค้าส่วนมาก เชื่อกันว่ามะนาวที่ตอนจะดีที่สุด มีความคุ้นเคย เวลาซื้อมา ต้อง นำลงมาเพราะชำในถุงดำ อนุบาลในร่มก่อนสัก 10-20 วัน



2 กิ่งชำ นิยมน้อยกว่า กิ่งตอน แต่ สามารถ ทำให้รากเดินดีได้ม่แพ้กิ่งตอน กิ่งอ่อนกว่ากิ่งตอน สะดวกในการขนส่ง มะนาว 1 ต้น อาจผลิตกิ่งชำได้ถึง 400 กิ่ง


3 ต้นตอส้มหรือมะขวิด มักมีรากแก้ว ทำให้ทนแล้งได้ดี ต้นมะนาวจะแข็งแรงกว่า ตายยาก แต่มักขายราคาแพงกว่า กิ่งตอน หรือ กิ่งชำมาก หลายเท่า


เมื่อได้กิ่งพันธุ์มา ควรตรวจดูว่า มีแคงเกอร์หรือ 

ไม่ หากมีที่ใบ ควร เด็ดใบที่ติดเชื้อแคงเกอร์ทิ้ง

และ  ตัดกิ่งที่เป็นโรคทิ้ง 








นำกิ่งมะนาว  มา แช่น้ำยาฆ่าเชื้อ  ใช้ยา Super C 1 ซอง  ละลาย  100 ลิตร  แช่งกิ่งมะนาว

ประมาณ  30-45 นาที ถึงได้ผลดี  ในการฆ่าเชื้อโรคทั้งหมด ที่มากับกิ่งมะนาว แล้ว นำมาปักชำในถุงชำได้ 

Super C




***เมื่อปลูกมะนาวฉีดพ่นใบและกิ่งมะนาวด้วยนมหมัก Killer B จำนวน 3 ครั้ง ห่างกัน 3 วัน ***


และราดดินโคนต้นมะนาว ด้วยนมหมัก Killer B  ปีละ 1-2  ครั้ง



วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ปลูกมะนาวลงบ่อซีเมนต์ ดีกว่าปลูกลงดิน จริงหรือ ???

ในการเลือกปลูกมะนาวนั้น มี สองแนวทาง คือ 

1 วงบ่อซีเมนต์    2 ปลูกลงดิน ยกร่อง


การปลูกแต่ละวิธี มี ข้อดี ข้อเสีย ต่างกัน 

ดังที่จะสรุป ให้ตามนี้ เลยครับ




1 การปลูกมะนาววงบ่อซีเมนต์


ข้อดี
  • เตรียมวัสดุปลูกคุณภาพได้
  • ลดปัญหาวัชพืช
  • ดินเปรี้ยว ดินเค็มก็ปลูกได้
  • บังคับให้อดน้ำง่าย
  • ปลูกได้ถี่มาก 2*1.5 เมตรก็ปลูกได้ 
  • ลดปัญหาน้ำท่วมได้
ข้อเสีย
  • ต้นทุนสูงกว่า ปลูกลงดินเยอะมาก
  • ผลผลิตต่อต้นต่ำกว่าปลูกลงดิน ( 200-1000 ลูก )
  • มะนาวอายุขัยส่วนใหญ่มักไม่เกิน 5 ปี



2 ปลูกมะนาวลงดินแบบยกร่องลูกฟูก


ข้อดี
  • ผลผลิตสูงถึงต้นละ 1000-4000 ลูก
  • อายุขัยมะนาวนานกว่า 10 ปี
  • ต้นทุนการผลิตต่ำกว่ามาก
  • ปลูกห่าง 2*4 เมตร หรือ 2*5 เมตร

ข้อเสีย
  • อาจมีปัญหาหากดินเค็ม ดินเปรี้ยว
  • การจัดการวัชพืชยุ่งยากกว่า
  • บังคับให้มะนาวอดน้ำยากกว่า (จำเป็นบ้างนิดหน่อยต่อการออกดอกมะนาว)



วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

5 สิ่งที่ จะต้องเจอ สำหรับ มือใหม่ปลูกมะนาว

เมื่อชาวสวน คิดจะสร้างธุรกิจมะนาวเงินล้าน อุปสรรค แรก


คือ โรคและศัตรูพืช  ที่เราต้องเจอ
และต้องผ่านให้ได้มี 5 อย่างก็คือ


1 โรคแคงเกอร์


2 หนอนชอนใบ และ  หนอนกินใบ


3 ไรแดง


4 โรครากเน่า โคนเน่า


5 เพลี๊ยะต่างๆ


เรามาดูสรุปสั้นๆ กันครับ ว่าจะจัดการ ปัญหาพวกนี้ได้อย่างไร


1 โรคแคงเกอร์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักพบในมะนาวแป้นต่างๆ


แต่หาก เป็นมะนาวตาฮิติ หรือ แป้นพิจิตร จะทนต่อโรคแคงเกอร์ดีมาก


โรคนี้ ใบมะนาว กิ่งมะนาว  และ ผล จะถูกแบคทีเรียเข้าทำลาย


มะนาวที่เป็นโรคแคงเกอร์มากๆ นี่อาจเสียหายถึงตายได้เลยครับ


การจัดการ ควรคัดกิ่งพันธุ์ปลอดโรคแคงเกอร์ หากพบการระบาดของโรค


ควรตัดใบกิ่งไปทำลาย  และพ่น สารคอปเปอร์โฮดรอกไซต์ หรือ เชื้อแบคทีเรีย BS

หรือ ยา Killer B  ที่ผมผลิต และ วิจัยแล้วว่า ได้ผลดีมาก


สัก  3- 4 รอบ เชื้อแคงเกอร์ จะหยุดระบาดลงได้ครับ

กรณี จะรักษาแคงเกอร์ให้หายขาด ต้องใช้ยา Super C ก่อนครับ

การป้องกันโรคแคงเกอร์

 ควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่งมีแสงแดงส่องทั่วถึง

และ ซื้อ กิ่งพันธุ์ที่ปลอดโรคแคงเกอร์ 

 ทำแนวกันลมในสวน ไว้ด้วย โดยแนะนำปลูก กระถินเทพา

รดน้ำที่โคนต้นก็พอแล้ว รดพอชุ่ม อย่าให้น้ำท่วมขังเด็ดขาดไม่งั้น

รากมะนาวจะมีปัญหา รากเน่าตามมาได้ครับ หากได้น้ำมากไป 


ปกติ รดน้ำมะนาว ทุก 2 วันก็น่าจะพอครับ




2 หนอนชอนใบ และ  หนอนกินใบ   ปกติ เกิดจากผีเสื้อ มาวางไข่ มักทำให้ 


ใบมะนาว เสียหาย  มีรอย หรือ ถูกหนอนกัดกิน และ ทำให้โรคแคงเกอร์ระบาดมาก


ยิ่งขึ้น   เราต้องป้องกันหนอนชอยใบด้วยการฉีดพ่น สตาร์เกิ้ล SL ช่วงมะนาว 


แตกใบอ่อน สลับกับการใช้  White Mineral oil ฉีดช่วงมะนาวแตกใบอ่อน สัก 3 ครั้ง

หรือ เราอาจใช้ ยาโปรวาโด อิมิดาคลอพริด ก็ได้ผลดี เช่นกัน




นอกจากนี้ อาจใช้  การโรยผง สตาร์เกิ้ล จี ที่โคนต้นมะนาวได้ 

ในกรณีที่มะนาวมีอายุไม่ถึง 1 ปี  ก็ได้ผลดีเช่นกัน   



3 ไรแดง มักพบในต้นมะนาว ตอนอากาศแห้งแล้ง มักพบในช่วงฝนทิ้งช่วง ฤดูแล้ง

 หรือ ฤดูหนาว ไรแดงทำให้ผลมะนาวเสียหายได้ สามารถใช้การพ่นน้ำที่ต้นมะนาว ในช่วงแล้ง

เพื่อป้องกันไรแดง หริือ ใช้สารซัลเฟอร์ หรือ กำมันถันผง ผสมน้ำพ่นเมื่อพบไรแดง ระบาดได้

นอกจากนี้ เราอาจใช้ยา อามีทราช ก็ได้ผลดี การป้องกันไรแดง ให้พ่นน้ำให้ทั่วสวน เพื่อ เพิ่ม

ความชื้น จะช่วยป่้องกันไรแดง  และ เพลี้ยได้ดีมาก ถึง 80 เลยทีเดียว% 




4 โรครากเน่า โคนเน่า เกิดจากเชื้อราไฟทอร์ปเทอร่า และราชนิดอื่นๆ อีก 2 ชนิด


การให้น้ำมะนาวมากไป หรือมีน้ำขัง  ดินที่ระบายน้ำไม่ดี ทำให้เกิดรากเน่าโคนเน่าได้


การป้องกันจะดีกว่า การรักษา ควรใช้เชื้อราไตรโครเดอร์ม่า มาป้องกันเชื้อรา

 มา ผสมในวัสดุปลูก และใช้ทรายหยาบผสม ในวัสดุปลูกเพื่อป้องกันน้ำขัง หรือ


 ยกร่องลูกฟูกสูง  2 ฟุต ก็ได้ผลดีเช่นกัน โรครากเน่าโคนเน่า ทำให้มะนาวส่วนใหญ่ 

ยืนต้นตายได้เลย ส้ม และ ไม้ผลอื่น ก็เช่นกัน ครับ




เราสามารถป้องกันโรครากเน่า  โดยใช้เชื้อราไตรโครเดอร์ม่า ได้ โดยจุ่มรากมะนาวตอนปลูก


5 เพลี๊ยะต่างๆ   ได้แก่  เพลีั๊ยะอ่อน เพลี๊ยไฟ เพลี๊ยแป้ง เพลี๊ยจักจั่น ก่อนโรคให้มะนาว

มากมายบางโรคทำให้มะนาวตาย ผลผลิตเสียหายรุนแรง  การป้องกัน เพลี๊ย

 จะฉีดพ่นยาฆ่าแมลงเมื่อมะนาวแตกใบอ่อนสูตร 1-4-7 โดยควรใช้สารเคมีสองตัว

ได้แก่ สตาร์เกิ้ล SL   หรือ โปรวาโด   ฟิโพรนิล และ อะบาเม็กติน 

ฉีดช่วงแตกใบอ่อน  อย่าง น้อย สองครั้ง หรือ พบเพลี๊ยะระบาด  สำหรับ ผลมะนาว ไม่ควรใช้ยา

อะบาเม็กติน หรือ แจ็คเก็ต  เพราะ จะทำให้ผลมีรอยดำได้


เพลี๊ยจักจั่น



หมายเหตุ สูตร 1-4-7 รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี เป็นคิดค้น ขึ้นมาครับ




วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ปลูกมะนาวพันธุ์ไหนดี ที่สุด

คำถามนี้ ตอบยากเหมือนกันเอาว่า ผมขอตอบเป็นตัวเลือกแล้วกัน


หากมือใหม่ หัดปลูกมะนาว แนะนำ พันธุ์ตาฮิติ หรือ แป้นพิจิตร


ส่วน หากปลูกเป็น อาชีพ ขายส่งตลาด ร้านอาหาร ต้องแป้นรำไพ


แต่ถ้า ชอบของแปลก อาจลองมะนาวแป้นดกพิเศษ ก็ไม่เลวครับ


*****เรามาแนะนำเลย ว่าพันธุ์ไหน เป็นแบบไหน****




พันธุ์ตาฮิติ มะนาวไร้เมล็ด ลูกใหญ่ ใบหนา


ทนโรค เปลือกหนา กลิ่นไม่หอมเหมือนแป้นรำไพ


แต่ปลูกง่าย ทนโรคแคงเกอร์ดี ตลาดเหนือ


และภาคอีสาน ชอบพันธุ์นี้ พอสมควร เหมาะกับมือใหม่


มะนาว พันธุ์ตาฮิติ มีน้ำมาก ใช้เวลา 6 เดือน จึงเก็บผลได้

ตลาดต่างประเทศชอบ พันธุ์ตาฮิติ มาก





แป้นรำไพ เป็นมะนาวแป้น ผลดก กลิ่นหอมมาก เปลือกบาง


ตลาดในประเทศ ต้องการสูง ทุกภาค ปลูกยาก เพราะมีโรค


แคงเกอร์ และ โรครากเน่า มาคอยรบกวน แป้นรำไพบ่อยๆ


แป้นรำไพเหมาะ กับเกษตรกร มืออาชีพ ที่จะทำสวนอย่างจริงจัง


แป้นรำไพราคาดีมาก  ผลขายง่าย กลิ่นหอม เปลือกบาง

กิ่งพันธุ์แป้นรำไพหาง่าย    ราคาถูก  มะนาวพันธุ์นี้  ใช้เวลา 5 เดือน เก็บขายได้


นอกจากนี้ พันธุ์มะนาว ที่ขายง่าย ได้แก่ แป้นพวง แป้นเพรชบุรี มะนาวไข่



แป้นพิจิตร ลูกดก โตเร็ว ทนโรคแคงเกอร์ แต่เปลือกหนา เมล็ดเยอะ



ตลาดบางแห่ง ชอบ แป้นพิจิตร มาก บางที่ไม่ชอบ

เมื่อออกดอกแล้ว ใช้เวลา 5 เดือน จึงเก็บผลมาขายได้


แป้นพิจิตร ปลูกง่าย ทวาย ทนแคงเกอร์  เหมาะกับมือใหม่ 

การปลูกแป้นพิจิตร ควรหาตลาดมารองรับให้ดี 

ราคาขายผล อาจต่ำกว่าแป้นรำไพ สักเล็กน้อยครับ