โรคแคงเกอร์ มัก พบกับ มะนาว มะกรูด ส้ม โดยเฉพาะ มะนาวแป้นรำไพ ที่ เป็นมะนาวที่แม่ค้าในตลาด นิยมมากที่สุด เป็น โรคแคงเกอร์ บ่อยมาก นอกจากนี้ มะนาวแป้นพวง มะนาวแป้นจริยา ก็ อ่อนแอต่อโรคแคงเกอร์ ส่วนมะนาวแป้นพิจิตร กับ มะนาวตาฮิติ ทนต่อโรคแคงเกอร์ดีพอสมควร โรคนี้มักพบที่ใบจะมีรอยโรคเป็นจุดสีน้ำตาล
และอาจเกิดแผลที่ใบอาจมีรอยแตกร้าว
นอกจากนี้ อาจพบรอยโรคที่กิ่ง
ก้าน ลำต้น
และผลได้โดยโรคแคงเกอร์นั้นมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า
Xanthomonas
axonopodi.
pv citri. กล่าวแบบสั้นๆ
ก็คือ โรคแคงเกอร์
สาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียนั่นเอง โรคแคงเกอร์นั้นจะระบาดมากเมื่อมีความชื้นสูง
กระแสลมแรง และ หนอนชอนใบเข้าทำลายใบมะนาว
หรือ ใบส้ม จะทำให้โรคแคงเกอร์ระบาดมากขึ้น การกำจัดโรคแคงเกอร์เริ่ม จากการตัดกิ่งใบที่เป็นโรคทิ้งไปให้มากที่สุด และใช้สารประกอบ copper หากมีการรบาดของโรคมาก โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ตัดแต่งกิ่งใบที่เป็นโรคทิ้ง
- ระบาดมาก ใช้สารประกอบ copper ยี่ห้อ ฟังกูราน หากระบาดน้อย ใช้นมหมักแบคทีเรีย BS
- หลังจาก พ่น ยาตาม ข้อ 2 ได้สามวันให้ พ่น นมหมักแบคทีเรีย BS อีก 3 ครั้ง โดยพ่น ทุก 7 วัน
- ราดโคนต้นมะนาว ด้วย นมหมักแบคทีเรีย BS ปีละ 1 ครั้ง
- หลังจากโรคแคงเกอร์สงบแล้ว พ่น นมหมักแบคทีเรีย BS ทุก 1 เดือน ในกรณีที่โรคแคงเกอร์ไม่ระบาดครบ 6 เดือน เปลี่ยน เป็นพ่น นมหมักแบคทีเรีย BS ทุก 2 เดือน
หมายเหตุ ควรผสมสารจับใบ และ พ่นนมหมักแบคทีเรีย BS ในตอนเย็น
การเตรียมสารเพาะเชื้อ
แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส
ส่วนผสม
- หัวเชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) ผง 1 ช้อนชา หรือ Killer B 1 ซอง
- นมแลตาซอย 1 กล่อง 500 ml
- น้ำตาล 5 ช้อนชา
การเตรียม
ผสมให้เข้ากันในขวดน้ำอัดลมพลาสติก
ขนาด 1.25
ลิตร
หมักไว้ในห้องที่มีอากาศร้อน
(อย่าปิดฝาแน่น)
แต่ไม่ให้โดนแสงแดด
เก็บไว้นาน 48-72
ชั่วโมง
จึงนำมาใช้ได้ พยายาม
อย่าให้มดขึ้นด้วย เวลาใช้
นำน้ำยาที่ได้ 100
ml ไป
ผสมน้ำ 20
ลิตร
ในการพ่นใบมะนาวที่เป็นโรคแคงเกอร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น