วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การจัดการ โรคแคงเกอร์ ด้วยตนเอง


             โรคแคงเกอร์  เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย   สามารถ โจมตี พืชตระกูลส้ม  มะนาว  และ มะกรูด

หน้าตาของโรคเป็น    จุดเหลือง   พบที่ใบพืช  มักระบาดมากในฤดูฝน  หรือ มีลมแรง ทำให้ ใบ

เสียหาย การสังเคราะห์แสงที่ลดลง ผลผลิตจะลดลง  หากโรคระบาดรุนแรง  กิ่งมะนาวจะ

แห้งตายได้เลย




การจัดการโรคแคงเกอร์ด้วยตนเอง ง่ายๆ ก็คือ พบใบไหน  กิ่งไหน เป็นให้ตัดทิ้ง  แล้วเผาทำลาย

 สำหรับต้น ที่ติดโรคแคงเกอร์  ทางเลือก ให้ ถอนทิ้ง เอาไปเผา   หรือ ใช้ ยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ

สูงแต่ราคาไม่แพงเกินไป    ซึ่งอาจใช้ ไฮโดรเจน ล้างแผล  พ่นบริเวณที่ติดโรคแคงเกอร์ได้

นอกจากนี้  อาจเลือกสินค้าทางเลือกอื่นๆ  ได้   สำหรับมะนาวต้นอื่น  ที่ยังไม่เป้นโรคควรตัด

แต่งกิ่งให้แสงผ่านได้  เต็มที่ จะช่วยฆ่าเชื้อโรคแคงเกอร์ได้ดี




                 จากภาพ กิ่งที่ติดโรคแคงเกอร์ ควรตัดทิ้งแล้วเผาทำลาย เสีย จะเป็นการทำลายเชื้อโรค

ที่ดี ที่สุด ปัจจุบัน การควบคุมโรคแคงเกอร์ ตามมาตราฐานทั่วไป จะใช้สารกลุ่มทองแดง ที่มี 

ข้อเสีย คือ มี ประสิทธิภาพต่ำ  และ ทองแดง คือ โลหะหนักที่มีพิษต่อมนุษย์


หากไม่มียาใดๆ เลย ทำไง

  1. ตัดแต่งกิ่งใบออกให้หมด 
  2. กิ่งไหน ติดโรคตัดทิ้ง เผาทำลาย
  3. ลำต้นหลัก บริเวณติดโรคให้ ใช้มีดกรีด ลอกเปลือกออก
  4. ทาแผลด้วย ปูนแดง หรือ แอลกอฮอล์ล้างแผล 
  5. รอใบชุดใหม่ จะไม่มีโรค ให้รักษาใบอ่อน สูตร 1-4-8



ภาพต้นมะนาว  ก่อน ตัดกิ่งใบทิ้ง



ภาพต้นมะนาว หลังตัดใบ กิ่งที่ติดแคงเกอร์ทิ้ง


กรณี ต้องการควบคุมโรคแบบปลอดสารพิษ

แนะนำใช้ ผลิตภัณฑ์ Killer B ปราบโรคแคงเกอร์ และ รากเน่า โคนเน่า 

สนใจอ่านแนวคิดของ ผลิตภัณฑ์ Killer B คลิก 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น