วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เคล็ดวิชา มะนาวสำเร็จแบบเซียน

รวม เคล็ดวิชา สามสิบห้า  ท่า พิชิตมะนาว เงินล้าน
ทำในรูปแบบเสียง mp3 file และ เอกสาร PDF file
แจกลูกค้า ประจำฟรี จาก สองเพจ

สวนมะนาวเภสัชเอก  https://www.facebook.com/AkeLimeGarden/

Killer B Super C ปราบ แคงเกอร์ ใน มะนาว มะกรูด  https://www.facebook.com/KillerBCanker/



  1. ปอเทือง ไถกลบ ก่อนปลูก
  2. รู้ดิน รู้น้ำ รบ100 ชนะ100
  3. ดินดี ต้อง 4 ดี
  4. ยกร่องสูง สองฟุต 
  5. ระยะ 4*2 หรือ 5*2.5 เมตร
  6. ฆ่าศัตรู ตั้งแต่แรก ดีกว่า
  7. เลี้ยงหน้าแข้ง ก็สองฟุต
  8. สร้างสามกิ่งหลักก่อน
  9. ยึดลำต้นแบบ อินเดียแดง
  10. สูตรรักษาใบอ่อน 1-4-8
  11. ปุ๋ยโยกหน้า ตลอด ทุก  7 วัน
  12. แบคทีเรียดี ช่วยให้มีชัยชนะ
  13. ไตรโครเดอร์ม่า ก็มหาเทพ
  14. ใบไม้ต้องเจอแดดเพราะ
  15. แดด ช่วยสร้างอาหาร
  16. แดด ช่วยไล่ความชื้น
  17. แดด ช่วยฆ่าเชื้อโรค
  18. จากสามกิ่งหลักสู่ หกกิ่งรอง
  19. ใบมันขาดธาตุอาหารไหม???
  20. ใครคือ คนสร้างอาหาร
  21. ใคร คือ คนกินอาหาร
  22. น้ำเทพ ไล่เพลี้ยไฟ ไรแดง
  23. น้ำเทพ ช่วยรักษา จุลินทรีย์พระเอก
  24. เติม จุลินทรีย์พระเอก ปี ละ 2 ครั้ง
  25. ตัดปลายยอด หยอดแพคโค
  26. เร่งใบ ต้องโยกหน้า
  27. ปุ๋ยโยกหลัง สะสมอาหาร
  28. อดน้ำ กดการแตกใบอ่อน
  29. ปุ๋ยกดการแตกใบอ่อน
  30. ปุ๋ยเปิดตาดอก
  31. น้ำมาก ปุ๋ยโยกหน้าพอ ผลใหญ่
  32. รักษาผล ต้อง ปราบ 3 ตัวร้าย คือ เพลี้ยไฟ ไรแดง ราน้ำหมาก
  33. ราขาวพิชิตเพลี้ย ไรแมลง
  34. บีทีพิฆาตหนอน
  35. ไวท์ออยล์ปลอดภัย



วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การจัดการ โรคแคงเกอร์ ด้วยตนเอง


             โรคแคงเกอร์  เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย   สามารถ โจมตี พืชตระกูลส้ม  มะนาว  และ มะกรูด

หน้าตาของโรคเป็น    จุดเหลือง   พบที่ใบพืช  มักระบาดมากในฤดูฝน  หรือ มีลมแรง ทำให้ ใบ

เสียหาย การสังเคราะห์แสงที่ลดลง ผลผลิตจะลดลง  หากโรคระบาดรุนแรง  กิ่งมะนาวจะ

แห้งตายได้เลย




การจัดการโรคแคงเกอร์ด้วยตนเอง ง่ายๆ ก็คือ พบใบไหน  กิ่งไหน เป็นให้ตัดทิ้ง  แล้วเผาทำลาย

 สำหรับต้น ที่ติดโรคแคงเกอร์  ทางเลือก ให้ ถอนทิ้ง เอาไปเผา   หรือ ใช้ ยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ

สูงแต่ราคาไม่แพงเกินไป    ซึ่งอาจใช้ ไฮโดรเจน ล้างแผล  พ่นบริเวณที่ติดโรคแคงเกอร์ได้

นอกจากนี้  อาจเลือกสินค้าทางเลือกอื่นๆ  ได้   สำหรับมะนาวต้นอื่น  ที่ยังไม่เป้นโรคควรตัด

แต่งกิ่งให้แสงผ่านได้  เต็มที่ จะช่วยฆ่าเชื้อโรคแคงเกอร์ได้ดี




                 จากภาพ กิ่งที่ติดโรคแคงเกอร์ ควรตัดทิ้งแล้วเผาทำลาย เสีย จะเป็นการทำลายเชื้อโรค

ที่ดี ที่สุด ปัจจุบัน การควบคุมโรคแคงเกอร์ ตามมาตราฐานทั่วไป จะใช้สารกลุ่มทองแดง ที่มี 

ข้อเสีย คือ มี ประสิทธิภาพต่ำ  และ ทองแดง คือ โลหะหนักที่มีพิษต่อมนุษย์


หากไม่มียาใดๆ เลย ทำไง

  1. ตัดแต่งกิ่งใบออกให้หมด 
  2. กิ่งไหน ติดโรคตัดทิ้ง เผาทำลาย
  3. ลำต้นหลัก บริเวณติดโรคให้ ใช้มีดกรีด ลอกเปลือกออก
  4. ทาแผลด้วย ปูนแดง หรือ แอลกอฮอล์ล้างแผล 
  5. รอใบชุดใหม่ จะไม่มีโรค ให้รักษาใบอ่อน สูตร 1-4-8



ภาพต้นมะนาว  ก่อน ตัดกิ่งใบทิ้ง



ภาพต้นมะนาว หลังตัดใบ กิ่งที่ติดแคงเกอร์ทิ้ง


กรณี ต้องการควบคุมโรคแบบปลอดสารพิษ

แนะนำใช้ ผลิตภัณฑ์ Killer B ปราบโรคแคงเกอร์ และ รากเน่า โคนเน่า 

สนใจอ่านแนวคิดของ ผลิตภัณฑ์ Killer B คลิก 

วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ฤดูฝนมาแล้ว ต้องเตรียม อะไรบ้าง ในสวนมะนาว

หลักการที่ ผมจะเขียน ต่อไปนี้ ใช้ได้ กับ สวนมะนาว มะกรูด ส้ม และ ส้มโอ


หลักการทั้งหมดเหมือนกัน  เพราะ เป้นพืช ประเภทเดียวกัน ใช้หลักเดียวกัน

จุดโรคแคงเกอร์ที่ใบ


สิ่งที่ต้องเตรียมตัวมีดังนี้ ในช่วงฤดูฝน ได้แก่

  1. การป้องกันโรคแคงเกอร์
  2. การป้องกันรากเน่า โคนเน่า
  3. การป้องกันกิ่งหัก ฉีกขาด ล้ม
  4. การระบาดของหนอน
คิลเลอร์บี ใช้ ป้องกัน โรคแคงเกอร์ รากเน่า โคนเน่

1 การป้องกันโรคแคงเกอร์  เราจะใช้ การตัดแต่งกิ่งให้โปร่งแสงเข้าได้ มาช่วยกำจัดเชื้อโรค  ดังนั้น กิ่งใบไหนที่ถูกบดบัง ไม่โดนแสงแดด ต้องตัดทิ้ง  และ สุดท้าย ต้องพ่น Killer B ที่หมักแล้ว ให้ทั่วทุก ใบ ทุกกิ่ง มะนาว ในช่วงฟโุฝนทุกเดือน  จะช่วยป้องกันแคงเกอร์ได้ดีนักแล



2   การป้องกันรากเน่า โคนเน่า เราก็ใช้ การราด  Killer B ที่หมักแล้ว  บริเวณดิน ในรอบๆ ทรงพุ่มมะนาว  ในช่วงต้นฤดูฝน   และ ราด Killer B ที่หมักแล้ว  อีกครั้ง ในเดือน สิงหาคม จะช่วยป้องกัน โรครากเน่า โคนเน่าได้ดีมาก
รากเน่าเกิดจากเชื้อรา


3 การป้องกันกิ่งหัก ฉีกขาด ล้ม  คือ เริ่มต้น จากการปลูกพืชแนวกันลม แนะนำ ใช้ ต้นสนปฎิพัท จะช่วยลดความเร็วของลม  และ การระบาดของโรคแคงเกอร์ได้อีกด้วย  นอกจากนี้ กิ่งแขนงของ ต้นสนปฎิพัท ยังสามารถ นำมาทำเป็นไม้ ค้ำยันกิ่งที่ทนทาน   ดีกว่าไม้ไผ่อีกด้วย  และ สุดท้าย คือการค้ำ ลำต้นหลักไม่ให้โยกคลอน  โดยใช้ไม้ค้ำยัน คล้ายๆ กับ กางกระโจมอินเดียแดง จะ ช่วยป้องกันต้นมะนาว หรือ ส้มโค่นล้มได้ดีมาก    สุดท้ายกิ่งใบที่มีมากเกินไป ตัดออกเสียบ้าง จะลดโอกาสกิ่งฉีก  หรือ หัก ได้ดีเลยทีเดียว 

หนอนตายจากเชื้อ บีที โดยไม่ใช้สารเคมี 

4 การระบาดของหนอน  มักพบมาก ช่วงฤดูฝนโยเฉพาะหนอนกิบใบ  เราสามารถหมักเชื้อแบคทีเรีย บีที ที่มีความสามารถในการฆ่าหนอนให้ตาย  โดย ให้ ในช่วงต้นฤดูฝน   และ ให้เชื้อ แบคทีเรีย บีที  อีกครั้ง ในเดือน สิงหาคม   กรณีพบการระบาด สามารถ พ่นแบคทีเรีย บีที เพื่อฆ่าหนอน ได้ทันที


วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เริ่มต้น ได้ดี กับ กิ่งพันธุ์ปลอดโรค

มะนาว และ ส้ม กับ โรคแคงเกอร์ เป็น ของ คู่กัน มานานแสนนาน

แต่เราสามารถ เปลี่ยนแปลงได้ ว่าสวนเรา ต้องปลอดแคงเกอร์ได้

ทำการเริ่มต้น ให้ถูกต้อง โรคแคงเกอร์ จะไม่มีมันง่ายขึ้นเยอะเลย





ผู้เขียน มี เทคนิค 3 ข้อ จัดสวนให้ไม่มีโรคแคงเกอร์ เลยก็คือ


1 ใช้ กิ่งพันธ์ุที่ปลอดโรคแคงเกอร์

สนใจ กิ่งมะนาวปลอดโรคแคงเกอร์ คลิก



2  ฆ่าเชื้อกิ่งพันธุ์ที่ได้มาด้วย ยา Super C

ยา Super C 1 ซอง ผสมน้ำสะอาด 60 ลิตร + น้ำยาล้างจาน 20 มล

แช่กิ่งมะนาว ให้จมน้ำยา นาน 30 นาที




3 ป้องกันโรคแคงเกอร์เข้าสวน

ปลูกไม้กันลม สนฏิพัทธ์ ขวางทิศทางลมเข้าสวน

ใช้แบคทีเรีย คิลเลอร์บี พ่นใบมะนาว ทุก 2 ถึง 3 เดือน


ทำแค่นี้ 3 ข้อ ตอนเริ่มต้นสวนมะนาว สวนส้ม รับรอง ปลอดแคงเกอร์


วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ดินป่วย คุณต้องรักษา

ดินป่วย คุณต้องรักษา


คุณเคยไหม รู้สึกไหม ที่ ปลูกต้นไม้แล้ว ไม่งาม ใบมันออกอาการแปลกๆ

ปลูกมะนาว หรือ ต้นไม้แสนรัก ของคุณก็ไม่โตสักที หรือ จะเป็นไม้แคระ

หลายครั้ง ต้นมะนาว  หรือ ไม้ผล ยืนต้นตายไปดื้อ แบบไม่ร่ำลากันสักนิด



บางทีผมก็สงสัย   หรือว่า  เราจะเอาดี โดยการปลูกบอนไซ  ดีกว่าไหมครัช

ไม้ต้องครับ ท่านผู้ชม สาเหตุ ที่ ต้นไม้ แสนรัก ของคุณ ไม่งาม ไม่โต

ออกอาการแปลกๆ เกิด จาก ดิน ดินมันป่วย ดินมันเลว ต้องรักษา



ผม เภสัชเอก รักษาดินมาแล้ว  ง่ายกว่ารักษา ผู้ป่วยเบาหวานเยอะ


การรักษาดินป่วยให้กลับมาแข็งแรง ให้ทำดังนี้



1 ปรับ ความเป็นกรดด่าง ดิน ให้ได้ pH 6.0 ถึง 7.0

โดยใช้ ปูนขาว  หรือ โดโลไมท์ เติมทีละนิด ทุก สามวัน



2 เติม โปตัสเซี่ยม ฮิวเมท ลงในดิน  เพื่อ เพิ่มความสามารถในการรับปุ๋ย

โดยผสม  โปตัสเซี่ยม ฮิวเมท 3 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร ราดลงดิน พอเปียก



3 แก้ปัญหาดินแน่น ให้ใช้เหล็กเส้น  แทงดิน ลึก 20 cm

รอบๆ ทรงพุ่ม  บริเวณ ประมาณ 5-20 จุด


4 ฆ่าเชื้อราก่อโรคในดิน  โดยแบคทีเรีย คิลเลอร์บี Killer B




ราด ลงดิน รอบๆ ต้นไม้แสนรัก ทุก 6 เดือน  อ่าน การใช้ คิลเลอร์บี คลิก

หากไม่มี ใช้ เชื้อราไตรโครเดอร์ม่า แทน ได้





5 เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน โดยแนะนำ ใช้ ปุ๋ยคอก  พอประมาณ

เตรียม ปุ๋ยคอก ที่หมักกับ  คิลเลอร์บี นาน 30 วัน


สิ่งที่ต้องเตรียม


  • เครื่องวัด  pH ในดิน
  • ปูนขาว หรือ โดโลไมท์
  • โปตัสเซี่ยม ฮิวเมท
  • เหล็กเส้นขนาดเล็กยาว 25 cm ขึ้นไป
  • แบคทีเรีย คิลเลอร์บี



ดินป่วย คุณต้องรักษา



วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

พบบ่อยใน มะนาว การขาด ธาตุ สังกะสี

ธาตุ สังกะสี  (  Zinc )มีความจำเป็น ในมะนาวมากพอสมควร โดย สังกะสี  ป็นส่วนหนึ่งของระบบเอ็นไซม์ที่ควบคุมสมดุล ระหว่างแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และ กรด คาร์บอนิก เป็นองค์ประกอบของเอ็นไซม์ ที่ทำหน้า ที่ในกระบวนการเมแทบอลิซึมของโปรตีน จำเป็น สำหรับการสร้างคลอโรฟิลล์ ช่วยให้กระบวนการ สังเคราะห์แสงเป็นไปอย่างปกติ  นอกจากนี้ สังกะสียัง เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซินที่ส่งผลต่อการออกดอก ติดผลอีกด้วย 




อาการ ขาดสังกะสีรุนแรง ใบมะนาวจะซีดเล็ก  และ มีขนาดเล็กกว่าปกติ  อาจส่งผล ถึงการแคระแกร็นของต้นมะนาวได้   ลักษณะจะคล้ายโรคกรีนนิ่ง โดยเราจะมักพบกับการขาดธาตุสังกะสีในดินทราย  หรือ  ดินที่มีความเป็นด่าง นอกจากกนี้ ความแล้ง บวกกับสภาวะขาดน้ำ ทำให้เกิดการขาดธาตุสังกะสีเพิ่มขึ้น ขึ้น

วิธีการจัดการการขาด Zinc
ปรับ pH ดินให้เป็นกรดอ่อนๆ  และ เติมธาตุสังกะสีลงดิน บวกกับการพ่นธาตุสังกะสีไปพร้อมๆ กันในช่วงแรก  โดยที่ การ เติมธาตุสังกะสีลงดิน  มีความสำคัญมากกว่า แบบพ่นทางใบ



วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ปุ๋ยเคมีใส่น้อย ใส่บ่อย ดีกว่าใส่มาก นานๆ ครั้ง

               
             

                โดยปกติ  ชาวสวนส่วนใหญ่   มักไม่ให้ปุ๋ยเคมีแก่ต้นมะนาว บ่อยๆ เนื่องจากเสียเวลา  และแรงงานพอสมควรดังนั้น    เกษตรกรส่วนใหญ่จะให้ปุ๋ยเคมีแก่มะนาว    ปีละ 4 ถึง 6 ครั้ง   เท่านั้น ซึ่งถือว่าผิดพลาดอย่างแรงเลยทีเดียว   เนื่องจากมะนาว  ต้องการปุ๋ยทุกวัน    การให้ปุ๋ยทุก 2-3 เดือน ก็เหมือนให้ต้นมะนาวอดอาหารจนหิวโซ   โดยในแต่ละวัน จะได้อาหาร (ปุ๋ย) น้อยๆ ไม่พอกิน แต่พอครบทุก 2- 3 เดือนจะได้    อาหาร  หรือ ปุ๋ยมากมายมหาศาล  จนกินไม่หมด ต้องเหลือทิ้งไป อย่างน่าเสียดาย  เนื่องจาก   รากมะนาว ดูปุ๋ยได้จำกัดในแต่ละวัน ปุ๋ยเคมีที่ดูดซึมไม่หมด มากกว่าครึ่งก็จะเสื่อมสลายไปจากดิน   บริเวณนั้นอย่างรวดเร็ว  มากกว่าครึ่ง 


ข้อเสีย ของการให้ปุ๋ยทางดินทีละมากๆ
  • ปุ๋ยกว่าครึ่ง เสื่อมสลาย ก่อนที่พืชจะได้ใช้
  • ทำให้ต้นมะนาวเติบโตไม่เร็วเท่าที่ควร
  • เปลืองเงินค่าปุ๋ย
  • อาจเกิด การไหม้ จากปุ๋ย
  • เปลืองแรงงาน


การให้ปุ๋ยเคมีทางดินขั้นเทพในมะนาว
  • ให้ปุ๋ยเคมีที่ละลายน้ำไป กลับ ระบบน้ำหยด หรือ มินิสปริงเกอร์
  • ให้ปุ๋ยเคมี อย่างน้อยทุก 7 วัน แบ่งให้ทีละน้อย
  • หากมีเวลา สามารถแบ่งให้ปุ๋ยเคมี ทุกวันมะนาวจะโตเร็วขึ้น


      การให้ปุ๋ยเคมี ที่ประหยัด  ต้องให้ตามความต้องการของพืช  หากมีผลการวิเคราะห์ดินไปด้วยจะดีมาก  ก็จะไม่ต้องให้ปุ๋ย  หรือ ธาตุอาหารที่มีมากในดินอยู่แล้ว  ตรงนี้ จะช่วยประหยัดได้มาก ต่อมาก็คือปริมาณให้ปุ๋ยในแต่ละครั้งนั้น ต้องคิดจากว่า ความต้องการปุ๋ยทั้งปีของมะนาว  เป็นเท่าใด  แล้วให้ปุ๋ยตามนั้น เช่น  จากการข้อมูลของดิน พบว่ามะนาว ต้องการปุ๋ยเคมี ก ปีละ 770 กรัม ต่อต้น ต่อปี  แสดงว่า หากแบ่งให้ทุก 7 วันมะนาวจะได้ปุ๋ย ครั้งละ

                            770 X ( 1/52 )  =  14.8 กรัม ทุก ๆ 7 วัน  นั่นเอง


คำตอบ  ให้ ปุ๋ยเคมี  ก  แก่ มะนาว 15 กรัม ทุก 7 วัน