ผู้เขียนเอง ปลูกมะนาว มานานกว่า 10 ปี นอกจากนี้ ก็ ปลูกยางพารา
ใช้ปุ่ยมามากมาย ทั้ง ปุ่ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ แล้ว เข้าใจถึง หลักการต่างๆ
พบว่า หลักการใช้ ปุ๋ยในไม้ผล ทุก ชนิด มี เพียง ข้อ ก็คือ
1 ปุ๋ยเคมี ต้องใช้ คู่กับ ปุ๋ยอินทรีย์ ใช้เพียง อย่างเดียว อาจจะมีปัญหาได้
โดยให้ กำหนด ว่า ธาตุอาหารต่างๆ หลักๆ ได้ จาก ปุ่ยเคมีเป็นส่วนใหญ่
ส่วน ปุ๋ยอินทรีย์ นั้น ขาดไม่ได้ เพราะ ช่วยปรับโครงสร้างดิน และ ยังให้
ธาตอาหารรอง และ ธาตุอาหารเสริมต่างๆ การปลูกไม้ผล ถ้าจะให้ดีนั้น
ต้องใช้ ปุ๋ยทั้งสองประเภท โดยเน้น การประหยัดต้นทุน ให้มาก และยังได้
ผลผลิตที่มากไป พร้อมๆ กัน ประเภท ต้นทุนต่ำ ผลผลิตต่ำ แบบนี้ไม่เอา
ให้ เอา แบบว่า ผลผลิตดี ต้นทุนค่อนข้างต่ำ แบบนี้ดีมากๆ เลย
2 ปุ๋ยโยกหน้า เพื่อ การเจริญเติบโต กิ่งใบ และ ขยายขนาดผลให้ใหญ่
โดยปกติ ปุ๋ยโยกหน้าจะต้องการ N มาก และ K รองลงมา โดยสัดส่วน
ที่ดี ของปุ๋ยโยกหน้า ก็คือ 3:1:2 หรือ 4:1:3 เป็นต้น ตัวอย่างสูตรปุ๋ย
ได้แก่ 21-7-14 หรือ 22-7-18 ใช้ได้ กับ มะนาว ส้ม ส้มโอ มะม่วง ลำไย
ปุ๋ยโยกหน้า ปกติ ให้ ในทุกเดือน ยกเว้น ก่อนออกดอก 2 เดือน หรือ
ช่วงท้ายก่อนเก็บผล สำหรับ ไม้ผลต้องการผลขนาดใหญ่ ต้องใช้ ปุ่ย
สูตรโยกหน้า ตั้งแต่เริ่มติดผล 2-3 เดือนแรก
3 ปุ๋ยโยกหลัง เพื่อ สะสมอาหาร ก่อนออกดอก และ เพื่อเพิ่มแป้ง น้ำตาล
การให้ปุ๋ยโยกหลัง และ การสังเคราะห์แสงที่ดีพอ ช่วยให้ผลไม้มีรสหวาน
โดยปกติ ปุ๋ยโยกหน้าจะต้องการ N น้อย และ K มาก โดยสัดส่วน
ที่ดี ของปุ๋ยโยกหลัง ก็คือ 1:2:3 หรือ ปุ๋ยสูตร 10-20-30 กรณี ผสม
ปุ๋ยโนกหลังใช้เอง แนะนำ สูตร 15-15-15 ผสม 0-0-60 อย่างละ 1 ส่วน
จะได้ปุ๋ยสูตร 7.5-7.5-37.5 หรือ อาจใช้ สูตร 16-16-16 ผสม 0-0-60
อย่างละ 1 ส่วน จะได้ปุ๋ย สูตร 8-8-38 ที่เข้าเกณฑ์ N น้อย แต่ K มาก
โดยเราให้ ปุ๋ยโยกหลัง ก่อน ไม้ผลออกดอก 2 เดือน และ อาจมีการงดน้ำ
กรณี ต้องการผลไม้รสหวาน ให้ ใช้ ปุ่๋ยโยกหลัง เดือนสุดท้าย ก่อนเก็บผล
4 ปุ๋ยทางใบ หรือ ปุ๋ยเสริมที่ให้ธาตุอาหารรอง หลายชนิด และ ยังมี ธุาตหลัก
แบบ N P K ร่วมด้วย โดยปกติ ปุ๋ยทางใบจะละลายน้ำได้ดี หรือ อาจเป็น ปุ๋ยเคมี
แบบผงละลายช้า ที่ ค่อยๆ ทยอย ย่อยสลายไป โดยปุ๋ยทางใบ มีทั้งปุ๋ยเคมี สูตร
ปุ๋ยโยกหน้า ปุ๋ยโยกหลัง ปุ๋ยหยุดยอดอ่อน และ ปุ๋ยสำหรับเปิดตาดอก
ปกติ เราให้ ปุ๋ยทางใบเมื่อ ขาดธาตุอาหาร หรือ ต้องการเสริม ธาตุอาหารเป็น พิเศษ
โดยธาตุอาหาร ที่ เสริมได้แก่ แคลเซี่ยม โบรอน สังกะสี แมงนีเซี่ยม และ แมงกานิส
ปกติ หากมีการให้ปุ๋ยทางใบ จะต้องห่างกัน อย่างน้อย 7 วัน ยกเว้น ปุ่ยเปิดตาดอก
5 การส่งวิเคราะห์ดิน มีความสำคัญ จะทำให้เลือกสูตรปุ๋ย และ ปรับปรุงดินได้ อย่าง
ถูกต้อง ควรส่งตรวจดินทุกปี โดยส่งที่ สำนักงานพัฒนาที่ดิน จังหวัด หรือ ส่งที่
คณะเกษตร ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ราคาไม่แพง บางครั้งฟรี
6 ปุ๋ยสูตรเดิมๆ ไม่น่าใช้แล้ว หากไม่นำมาผสมกัน ใช้เดี่ยวๆ ส่วนมากจะ ได้ไม่คุ้มเสีย
ปุ่ยเดิมๆ ใน ตลาดได้แก่ สูตร 15-15-15 ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 และ ปุ๋ย 8-24-24
ปุ๋ยสามตัวนี้ ไม่น่าใช้ ไม่แนะนำให้ ซื้อใช้เดี่ยวๆ ครับ
7 ปุ๋ยสำหรับกดการแตกยอดอ่อน ในการสะสมอาหาร เพื่อ ทำไม้ผลนอกฤดู
ก่อนที่ไม้ผลจะออกดอก ไม่ว่าจะเป็น มะนาว มะม่วง ทุเรียน หรือ มังคุด
การยับยั้ง การแตกใบอ่อน จำเป็นมาก เพราะเมื่อมีการแตกใบอ่อน ขึ้นมา จะทำ
ให้ พืชต้องนำอาหารสะสมมาใช้ เพราะใบอ่อน ยังไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้
ดังนั้นการ ยับยั้งการแตกใบอ่อน จะช่วยให้ไม้ผล ออกดอกได้มากขึ้นหลายเท่า
ปุ๋ยที่ใช้ได้แก่ 0-52-34 0-0-60 และ เอ็กตร้า พี ของโซตัส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น