ผู้เขียนเอง ปลูกมะนาว มานานกว่า 10 ปี นอกจากนี้ ก็ ปลูกยางพารา
ใช้ปุ่ยมามากมาย ทั้ง ปุ่ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ แล้ว เข้าใจถึง หลักการต่างๆ
พบว่า หลักการใช้ ปุ๋ยในไม้ผล ทุก ชนิด มี เพียง ข้อ ก็คือ
1 ปุ๋ยเคมี ต้องใช้ คู่กับ ปุ๋ยอินทรีย์ ใช้เพียง อย่างเดียว อาจจะมีปัญหาได้
โดยให้ กำหนด ว่า ธาตุอาหารต่างๆ หลักๆ ได้ จาก ปุ่ยเคมีเป็นส่วนใหญ่
ส่วน ปุ๋ยอินทรีย์ นั้น ขาดไม่ได้ เพราะ ช่วยปรับโครงสร้างดิน และ ยังให้
ธาตอาหารรอง และ ธาตุอาหารเสริมต่างๆ การปลูกไม้ผล ถ้าจะให้ดีนั้น
ต้องใช้ ปุ๋ยทั้งสองประเภท โดยเน้น การประหยัดต้นทุน ให้มาก และยังได้
ผลผลิตที่มากไป พร้อมๆ กัน ประเภท ต้นทุนต่ำ ผลผลิตต่ำ แบบนี้ไม่เอา
ให้ เอา แบบว่า ผลผลิตดี ต้นทุนค่อนข้างต่ำ แบบนี้ดีมากๆ เลย
2 ปุ๋ยโยกหน้า เพื่อ การเจริญเติบโต กิ่งใบ และ ขยายขนาดผลให้ใหญ่
โดยปกติ ปุ๋ยโยกหน้าจะต้องการ N มาก และ K รองลงมา โดยสัดส่วน
ที่ดี ของปุ๋ยโยกหน้า ก็คือ 3:1:2 หรือ 4:1:3 เป็นต้น ตัวอย่างสูตรปุ๋ย
ได้แก่ 21-7-14 หรือ 22-7-18 ใช้ได้ กับ มะนาว ส้ม ส้มโอ มะม่วง ลำไย
ปุ๋ยโยกหน้า ปกติ ให้ ในทุกเดือน ยกเว้น ก่อนออกดอก 2 เดือน หรือ
ช่วงท้ายก่อนเก็บผล สำหรับ ไม้ผลต้องการผลขนาดใหญ่ ต้องใช้ ปุ่ย
สูตรโยกหน้า ตั้งแต่เริ่มติดผล 2-3 เดือนแรก
3 ปุ๋ยโยกหลัง เพื่อ สะสมอาหาร ก่อนออกดอก และ เพื่อเพิ่มแป้ง น้ำตาล
การให้ปุ๋ยโยกหลัง และ การสังเคราะห์แสงที่ดีพอ ช่วยให้ผลไม้มีรสหวาน
โดยปกติ ปุ๋ยโยกหน้าจะต้องการ N น้อย และ K มาก โดยสัดส่วน
ที่ดี ของปุ๋ยโยกหลัง ก็คือ 1:2:3 หรือ ปุ๋ยสูตร 10-20-30 กรณี ผสม
ปุ๋ยโนกหลังใช้เอง แนะนำ สูตร 15-15-15 ผสม 0-0-60 อย่างละ 1 ส่วน
จะได้ปุ๋ยสูตร 7.5-7.5-37.5 หรือ อาจใช้ สูตร 16-16-16 ผสม 0-0-60
อย่างละ 1 ส่วน จะได้ปุ๋ย สูตร 8-8-38 ที่เข้าเกณฑ์ N น้อย แต่ K มาก
โดยเราให้ ปุ๋ยโยกหลัง ก่อน ไม้ผลออกดอก 2 เดือน และ อาจมีการงดน้ำ
กรณี ต้องการผลไม้รสหวาน ให้ ใช้ ปุ่๋ยโยกหลัง เดือนสุดท้าย ก่อนเก็บผล
4 ปุ๋ยทางใบ หรือ ปุ๋ยเสริมที่ให้ธาตุอาหารรอง หลายชนิด และ ยังมี ธุาตหลัก
แบบ N P K ร่วมด้วย โดยปกติ ปุ๋ยทางใบจะละลายน้ำได้ดี หรือ อาจเป็น ปุ๋ยเคมี
แบบผงละลายช้า ที่ ค่อยๆ ทยอย ย่อยสลายไป โดยปุ๋ยทางใบ มีทั้งปุ๋ยเคมี สูตร
ปุ๋ยโยกหน้า ปุ๋ยโยกหลัง ปุ๋ยหยุดยอดอ่อน และ ปุ๋ยสำหรับเปิดตาดอก
ปกติ เราให้ ปุ๋ยทางใบเมื่อ ขาดธาตุอาหาร หรือ ต้องการเสริม ธาตุอาหารเป็น พิเศษ
โดยธาตุอาหาร ที่ เสริมได้แก่ แคลเซี่ยม โบรอน สังกะสี แมงนีเซี่ยม และ แมงกานิส
ปกติ หากมีการให้ปุ๋ยทางใบ จะต้องห่างกัน อย่างน้อย 7 วัน ยกเว้น ปุ่ยเปิดตาดอก
5 การส่งวิเคราะห์ดิน มีความสำคัญ จะทำให้เลือกสูตรปุ๋ย และ ปรับปรุงดินได้ อย่าง
ถูกต้อง ควรส่งตรวจดินทุกปี โดยส่งที่ สำนักงานพัฒนาที่ดิน จังหวัด หรือ ส่งที่
คณะเกษตร ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ราคาไม่แพง บางครั้งฟรี
6 ปุ๋ยสูตรเดิมๆ ไม่น่าใช้แล้ว หากไม่นำมาผสมกัน ใช้เดี่ยวๆ ส่วนมากจะ ได้ไม่คุ้มเสีย
ปุ่ยเดิมๆ ใน ตลาดได้แก่ สูตร 15-15-15 ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 และ ปุ๋ย 8-24-24
ปุ๋ยสามตัวนี้ ไม่น่าใช้ ไม่แนะนำให้ ซื้อใช้เดี่ยวๆ ครับ
7 ปุ๋ยสำหรับกดการแตกยอดอ่อน ในการสะสมอาหาร เพื่อ ทำไม้ผลนอกฤดู
ก่อนที่ไม้ผลจะออกดอก ไม่ว่าจะเป็น มะนาว มะม่วง ทุเรียน หรือ มังคุด
การยับยั้ง การแตกใบอ่อน จำเป็นมาก เพราะเมื่อมีการแตกใบอ่อน ขึ้นมา จะทำ
ให้ พืชต้องนำอาหารสะสมมาใช้ เพราะใบอ่อน ยังไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้
ดังนั้นการ ยับยั้งการแตกใบอ่อน จะช่วยให้ไม้ผล ออกดอกได้มากขึ้นหลายเท่า
ปุ๋ยที่ใช้ได้แก่ 0-52-34 0-0-60 และ เอ็กตร้า พี ของโซตัส
เริ่มต้นธุรกิจเงินล้าน กับ การเป็นเกษตรกร สวนมะนาว สาระความรู้ ประสบการณ์ การปลูกมะนาว รีวิว ปุ๋ย ยาปราบศัตรพืช หนังสือที่เกี่ยวข้อง กับ มะนาว
วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ยาร้อน คืออะไร
สำหรับ ยาฆ่าแมลง จะแบ่ง ออกเป็น 2 กลุ่ม ตามคุณสมบัติการละลาย
ก็คือ ยาที่ละลายในน้ำ กับ ยาที่ละลายในน้ำมัน
สำหรับ ยาร้อน ก็คือ ยาฆ่าแมลง ที่ละลายในน้ำมัน นั่นเอง
โดย ยาร้อน เกือบ ทั้งหมด จะมาอยู่ในรูปของเหลว ที่เป็นน้ำมัน
และ มักจะมี คำว่า EC อยู่บนฉลาก ใกล้ กับ ชื่อสามัญเสมอ
ยาฆ่าแมลง ที่เป็น ยาร้อน ที่ใช้บ่อย ในสวนส้ม สวนมะนาว ได้แก่
อะบาเม็กติน หรือ แจ็คเก็ต
คาราเต้ หรือ แลมด้า ไซฮาโลทริน
ไซเปอร์เมตริน
อีบาเม็กตริน
โฟลีเทค หรือ เบต้าไซฟลูทิน
ข้อควรระวัง ใน การใช้ ยาร้อน
หมายเหตุ คำว่า EC ย่อมาจากคำว่า Emulsion concentrate
อ่านรายละเอียดเพิ่มที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Pesticide_formulation
ก็คือ ยาที่ละลายในน้ำ กับ ยาที่ละลายในน้ำมัน
สำหรับ ยาร้อน ก็คือ ยาฆ่าแมลง ที่ละลายในน้ำมัน นั่นเอง
โดย ยาร้อน เกือบ ทั้งหมด จะมาอยู่ในรูปของเหลว ที่เป็นน้ำมัน
และ มักจะมี คำว่า EC อยู่บนฉลาก ใกล้ กับ ชื่อสามัญเสมอ
ยาฆ่าแมลง ที่เป็น ยาร้อน ที่ใช้บ่อย ในสวนส้ม สวนมะนาว ได้แก่
อะบาเม็กติน หรือ แจ็คเก็ต
คาราเต้ หรือ แลมด้า ไซฮาโลทริน
ไซเปอร์เมตริน
อีบาเม็กตริน
โฟลีเทค หรือ เบต้าไซฟลูทิน
ข้อควรระวัง ใน การใช้ ยาร้อน
- ไม่ควรฉีดพ่นตอนเช้า ในวันที่อากาศร้อน เพราะใบอาจไหม้ได้
- ไม่ควรฉีดพ่นใส่ ผลมะนาว หรือ ผลส้ม เพราะผลจะมีรอยสีดำ
หมายเหตุ คำว่า EC ย่อมาจากคำว่า Emulsion concentrate
อ่านรายละเอียดเพิ่มที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Pesticide_formulation
วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
สรุป การใช้ปุ๋ยในมะนาว มะกรูด
ปกติมะนาว มะกรูด นั้น ส่วนใหญ่ จะใช้ปุ๋ยส่วนเดียว คือ ปุ๋ยทางดินโยกหน้า
สูตรปุ๋ยทางดินโยกหน้า สูตร 21-7-14 ที่หาซื้อได้ง่าย และใช้ประจำๆ
ปุ๋ยทางดินโยกหน้า ใช้เร่งการเจริญเติบโต ของ กิ่ง ก้าน ใบ และขยายผล
โดยปกติ การให้ปุ๋ยเคมีนั้น ควรให้บ่อยๆ จำนวนน้อยๆ จะได้ผลดีกว่ามาก
การให้ปุ๋ยปริมาณมาก แต่ให้นานๆ ครั้ง เป็นการสูญเสีย มาก เพราะ การให้บ่อยๆ
นั้นจะมีการ สูญเสีย ปุ๋ยน้อยกว่า การให้ปุ๋ยในปริมาณมาก เพราะในแต่ละวันพืชนั้น
สามารถ ดูดซึมปุ๋ยได้ปริมาณจำกัด หากให้ปุ๋ยไปมากๆ จะมีปุ๋ยจำนวนมาก ที่สลายไป
ปุ๋ยที่ไม่สามารถดูดซึมได้ ต้องสูญเสียไป อย่างเปล่าประโยชน์ ฟรีๆนั่นเอง
ดังนั้น การให้ปุ๋ยที่ถูกต้องคือ ให้น้อยๆ บ่อยๆ ประมาณ ทุก 7 วัน จะดีมาก
จะช่วย ประหยัดงบประมาณ ค่าปุ๋ยลงได้มากกว่า 20% นั่นเอง นอกจากนี้
การให้ปุ๋ยบ่อยๆ ในปริมาณที่เหมาะสม สามารถ ทำให้มะนาวโตเร็วขึ้นกว่า
กว่าปกติอย่างชัดเจน นอกจากนี้ การให้ปุ๋ย ไป กับ ระบบน้ำ จะช่วยประหยัด
เวลา และ แรงงานในการให้ปุ๋ยได้ แถม ยังช่วยให้ปุ๋ยออกฤทธิ์ ได้เต็มที่อีกด้วย
สูตรปุ๋ยทางดินโยกหน้า สูตร 21-7-14 ที่หาซื้อได้ง่าย และใช้ประจำๆ
ปุ๋ยทางดินโยกหน้า ใช้เร่งการเจริญเติบโต ของ กิ่ง ก้าน ใบ และขยายผล
โดยปกติ การให้ปุ๋ยเคมีนั้น ควรให้บ่อยๆ จำนวนน้อยๆ จะได้ผลดีกว่ามาก
การให้ปุ๋ยปริมาณมาก แต่ให้นานๆ ครั้ง เป็นการสูญเสีย มาก เพราะ การให้บ่อยๆ
นั้นจะมีการ สูญเสีย ปุ๋ยน้อยกว่า การให้ปุ๋ยในปริมาณมาก เพราะในแต่ละวันพืชนั้น
สามารถ ดูดซึมปุ๋ยได้ปริมาณจำกัด หากให้ปุ๋ยไปมากๆ จะมีปุ๋ยจำนวนมาก ที่สลายไป
ปุ๋ยที่ไม่สามารถดูดซึมได้ ต้องสูญเสียไป อย่างเปล่าประโยชน์ ฟรีๆนั่นเอง
ดังนั้น การให้ปุ๋ยที่ถูกต้องคือ ให้น้อยๆ บ่อยๆ ประมาณ ทุก 7 วัน จะดีมาก
จะช่วย ประหยัดงบประมาณ ค่าปุ๋ยลงได้มากกว่า 20% นั่นเอง นอกจากนี้
การให้ปุ๋ยบ่อยๆ ในปริมาณที่เหมาะสม สามารถ ทำให้มะนาวโตเร็วขึ้นกว่า
กว่าปกติอย่างชัดเจน นอกจากนี้ การให้ปุ๋ย ไป กับ ระบบน้ำ จะช่วยประหยัด
เวลา และ แรงงานในการให้ปุ๋ยได้ แถม ยังช่วยให้ปุ๋ยออกฤทธิ์ ได้เต็มที่อีกด้วย
การให้ปุ๋ยโยกหน้า
- ปุ๋ยโยกหน้า N มาก K รองลงมา เช่น สูตร 21-7-14
- ปุ๋ยโยกหน้า ช่วย เรื่องการบำรุงใบ กิ่ง และ ขยายผล
- การให้ปุ๋ยทางดิน สำคัญกว่า ปุ๋ยทางใบ
- ปุ๋ยโยกหน้าทางดิน มี ยี่ห้อ ยาร่า และ พลอยเกษตร 22-7-18
- ปุ๋ยโยกหน้าทางใบ ได้แก่ นกเงือกเขียว และ นูแทค ไฮเอ็น
การให้ปุ๋ยโยกหลัง
- ปุ๋ยโยกหลัง N น้อย K มาก เช่น สูตร 10-20-30 สูตร 9-19-34
- ปุ๋ยโยกหลัง ช่วยสะสมอาหารก่อนออกดอก ช่วยให้รสหวาน และ เปลืองบาง
- ปุ๋ยโยกหลังทางดิน ผสมเอง โดย ใช้ ปุ๋ย 16-16-16 ผสม 0-0-60 อย่างละเท่าๆ กัน
- ปุ๋ยโยกหลัง จะให้มะนาว ก่อน ออกดอกนาน 60 วัน
- ปุ๋ยโยกหลังทางใบได้แก่ นกเงือกแดง และ นูแทค ซุปเปอร์ เค
การให้ปุ๋ยเพื่อเปิดตาดอก
วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
กฎพื้นฐานการใช้ยาฆ่าแมลงอย่างชาญฉลาด
การใช้ยาฆ่าแมลง อย่างฉลาด รู้ลึก รู้จริง นั้นเป็นหัวใจ ของ ความสำเร็จ
ในการทำสวนมะนาวให้ไปรอด เพราะแมลงศัตรูพืชนั้น ไม่ธรรมดามาก
ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ทำให้สวนมะนาวล่มจม แมลง หนอน ดื้อยาได้
หลักการดังต่อไปนี้ สามารถ นำไปใช้จัดการศัตรูพืช ส้ม มะกรูดได้ด้วย
โดยทั่วไป แล้ว แมลงศัตรูพืชตระกูล มะนาว ส้ม ส้มโอ มะกรูดได้แก่
1 เพลี้ยไฟ
2 หนอนชอนใบ
3 หนอนกินใบ
4 เพลี้ยอ่อน
5 หนอนม้วนใบ
6 เพลี้ยจักจั่น
7 เพลี้ยแป้ง
8 แมลงค่อมทอง
9 ไรแดง
10 ไรสนิม
นี่ คือ ตัวอย่างที่ผิด คือ ในสวนมี หาฆ่าแมลงเพียงชนิดเดียว คือ อะบาเม็กติน
แน่นอน ยานี้ ใช้ได้ดีในเพลี้ยไฟ และ หนอนต่างๆ แต่เมื่อใช้ อะบาเม็กติน ติด
ต่อกันหลายเดือน หนอน แมลง จะดื้อยาแน่นอน และ ที่สำคัญ ยานี้เป็นยาร้อน
กล่าวคือ อะบาเม็กติน เป็นยาที่เข้าน้ำมัน ร้อน หากพ่นตอนเช้า อาจมีใบไหม้
หรือ หากมีการให้ยา อะบาเม็กติน ใน ช่วงติดผลมะนาว ผลอาจมีรอยคราบสีดำ
เมื่อ ผลมะนาวมีคราบสีดำ มะนาวจะขายยากมาก และ ราคาตกต่ำในทันทีเลย
กลุ่มยาฆ่าหนอน แมลง และเพลี้ย
ในการทำสวนมะนาวให้ไปรอด เพราะแมลงศัตรูพืชนั้น ไม่ธรรมดามาก
ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ทำให้สวนมะนาวล่มจม แมลง หนอน ดื้อยาได้
อิมิดาคลอพริดผง |
หลักการดังต่อไปนี้ สามารถ นำไปใช้จัดการศัตรูพืช ส้ม มะกรูดได้ด้วย
โดยทั่วไป แล้ว แมลงศัตรูพืชตระกูล มะนาว ส้ม ส้มโอ มะกรูดได้แก่
เพลี้ยไฟ |
1 เพลี้ยไฟ
2 หนอนชอนใบ
3 หนอนกินใบ
4 เพลี้ยอ่อน
5 หนอนม้วนใบ
6 เพลี้ยจักจั่น
7 เพลี้ยแป้ง
8 แมลงค่อมทอง
9 ไรแดง
10 ไรสนิม
รอยหนอนชอนใบ |
นี่ คือ ตัวอย่างที่ผิด คือ ในสวนมี หาฆ่าแมลงเพียงชนิดเดียว คือ อะบาเม็กติน
แน่นอน ยานี้ ใช้ได้ดีในเพลี้ยไฟ และ หนอนต่างๆ แต่เมื่อใช้ อะบาเม็กติน ติด
อะบาเม็กติน |
ต่อกันหลายเดือน หนอน แมลง จะดื้อยาแน่นอน และ ที่สำคัญ ยานี้เป็นยาร้อน
กล่าวคือ อะบาเม็กติน เป็นยาที่เข้าน้ำมัน ร้อน หากพ่นตอนเช้า อาจมีใบไหม้
หรือ หากมีการให้ยา อะบาเม็กติน ใน ช่วงติดผลมะนาว ผลอาจมีรอยคราบสีดำ
เมื่อ ผลมะนาวมีคราบสีดำ มะนาวจะขายยากมาก และ ราคาตกต่ำในทันทีเลย
สรุปหลักการให้ยาฆ่าแมลง
- ให้ใช้ ยาฆ่าแมลง ตามชนิดของ แมลงศัตรูพืช แบ่ง เป็น สี่กลุ่ม หนอน เพลี้ย ไร และ ด้วง
- ใช้ยาฆ่าแมลง อย่างน้อย 2 ถึง 3 กลุ่ม สลับกัน อย่าใช้ตัวเดิมซ้ำๆ
- การใช้สารจับใบ จำเป็น ต่อการฉีดพ่นยาฆ่าแมลง เพราะ การออกฤทธิ์ดีขึ้นหลายเท่า
- น้ำที่ใช้ผสมยาฆ่าแมลงต้อง มีคุณภาพดี สะอาด ไม่ควรใช้น้ำกระด้าง
- ใช้ยาฆ่าแมลง สูตร 1-4-8 กรณีแตกยอดอ่อน ในทันที ที่แตกยอด
- ใช้ยาฆ่าแมลงแบบปลอดสารพิษร่วมด้วย
รอยการทำลายของเพลี้ยไฟ |
กลุ่มยาฆ่าหนอน แมลง และเพลี้ย
- กลุ่ม นิโคตินอยด์ ได้ แก่ อิมิดาคลอพริด และ สตาร์เกิ้ล
- กลุ่ม คาร์บาเมท ได้แก่ เซพวิน 85 คาร์โบซัลแฟน
- กลุ่ม ไพรีทรอยด์ ได้แก่ ไซเปอร์เมตรีน และ คาราเต้
- กลุ่ม เวอร์เมคติน ได้แก่ อะบาเม็กติน และ อีบาเม็กติน
- กลุ่มยา ฟิโพรนิล
ไรแดง |
กลุ่มยาฆ่าไรสนิม ไรแดง
- อามีทราช
- ผงกำมะถัน
- โพพาไกต์
วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ทางแก้ ปลูกมะนาว แล้วไม่โตสักที
1 ดินมีปัญหาไหม ตรงนี้ สำคัญมาก หากดินเป็นกรด หรือ ด่างมากเกินไป ทำให้พืชดูดซึม ธาตุอาหาร ได้น้อยลงหลายเท่าตัว ดังนั้น การปรับ pH ดินปลูกมะนาว ควรอยู่ในช่วง 6.0 -7.0 จะเหมาะที่สุด
ดินเป็นกรด pH น้อยกว่า 7 เติม ปูนขาว หรือ โดโลไมท์ ให้ได้ pH อยู่ในช่วง 6.0 -7.0
ดินเป็นด่าง หายาก ดินด่าง pH มากกว่า 8.0 ให้เติม กรดน้ำส้ม หรือ กรูดซัลฟูริค ให้ ปรึกษาหมอดินอาสา ด้วยจะดีกว่า
2 ระบบรากเป็นอย่างไร ปัญหาที่พบบ่อยมากคือ รากมะนาวไม่สมบูรณ์ หรือเป็นโรค การป้องกันรากมะนาว เราจะต้อง ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า จุ่มรากมะนาว ก่อนปลูก และ ปรับ pH ดินปลูกมะนาว ให้อยู่ ในช่วง 6.0 -7.0 นอกจากนี้ อาจเกิดจากลำต้นมะนาวโยกคลอน ทำให้รากไม่แน่น รากลอย ดังนั้น การมัดค้ำลำต้นมะนาว ให้แน่นไม่โยกคลอน จำเป็นมาก
3 โรคแคงเกอร์คุมได้ไหม ? โรคแคงเกอร์ จะเข้าทำลายใบ และ กิ่งมะนาว ทำให้กิ่งใบเสียหาย เกิดสังเคราะห์แสงลดลง มะนาวจะไม่โต บางครั้ง มะนาวถูกแคงเกอรุมเร้าหนัก ยืนต้นตายไปเลยก็มี การรักษาแคงเกอร์ไม่ยาก ผมใช้ สูตร Super C 2 รอบ +ตัดแต่ง+ แล้ว Killer B 5 รอบ หายเลย
หากใคร อยากจะใช้ สารพิษ พวกทองแดง คอปเปอร์ ที่เป็นโลหะหนัก ก็ตามสบายครับ
4 ปุ๋ยเพียงพอไหม และ ปุ๋ยถูกสูตรไหม ปกติการปลูกมะนาวให้โต ต้องใช้ปุ๋ยทางดินสูตร โยกหน้า + ปุ๋ยอินทรีย์ อีกนิดหน่อย ทุก 7 วันจะทำให้มะนาวโตเร็วขึ้น กว่า การให้มะนาวนานๆ ครั้งแน่นอน ดังนั้น จงขยัน หากอยากให้มะนาวดตไว ให้ปุ๋ยน้อยๆ แต่ให้บ่อยๆ ดีกว่า ครับ ไม่ใช่รอสองสามเดือน ถึงให้ปุ๋ยทีนึง ให้ปุ๋ยทางดินไปเลยครับ ให้ ทุก 7 วันจะดีมาก สูตรปุ๋ยโยกหน้าที่แนะนำคือ สูตร 21-7-14 ครับ
5 เกินเยียวยา จังซี่มันต้องถอน หากมะนาวมันดูโทรม เป็นโรคหนักมาก ตัดใจเลยครับ ถอนทิ้ง ปลูกใหม่จะดีกว่า แต่อย่าลืมฆ่าเชื้อ ในหลุมปลูกก่อนน่ะครับ เดี๋ยวปลูกใหม่แล้ว มะนาวจะโทรมอีกเหมือนเดิม นอกจากนี้ การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า จุ่มรากมะนาว ก่อนปลูก ยัง จำเป็นอยู่น่ะครับ อย่าลืม
ดินเป็นกรด pH น้อยกว่า 7 เติม ปูนขาว หรือ โดโลไมท์ ให้ได้ pH อยู่ในช่วง 6.0 -7.0
ดินเป็นด่าง หายาก ดินด่าง pH มากกว่า 8.0 ให้เติม กรดน้ำส้ม หรือ กรูดซัลฟูริค ให้ ปรึกษาหมอดินอาสา ด้วยจะดีกว่า
2 ระบบรากเป็นอย่างไร ปัญหาที่พบบ่อยมากคือ รากมะนาวไม่สมบูรณ์ หรือเป็นโรค การป้องกันรากมะนาว เราจะต้อง ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า จุ่มรากมะนาว ก่อนปลูก และ ปรับ pH ดินปลูกมะนาว ให้อยู่ ในช่วง 6.0 -7.0 นอกจากนี้ อาจเกิดจากลำต้นมะนาวโยกคลอน ทำให้รากไม่แน่น รากลอย ดังนั้น การมัดค้ำลำต้นมะนาว ให้แน่นไม่โยกคลอน จำเป็นมาก
3 โรคแคงเกอร์คุมได้ไหม ? โรคแคงเกอร์ จะเข้าทำลายใบ และ กิ่งมะนาว ทำให้กิ่งใบเสียหาย เกิดสังเคราะห์แสงลดลง มะนาวจะไม่โต บางครั้ง มะนาวถูกแคงเกอรุมเร้าหนัก ยืนต้นตายไปเลยก็มี การรักษาแคงเกอร์ไม่ยาก ผมใช้ สูตร Super C 2 รอบ +ตัดแต่ง+ แล้ว Killer B 5 รอบ หายเลย
หากใคร อยากจะใช้ สารพิษ พวกทองแดง คอปเปอร์ ที่เป็นโลหะหนัก ก็ตามสบายครับ
4 ปุ๋ยเพียงพอไหม และ ปุ๋ยถูกสูตรไหม ปกติการปลูกมะนาวให้โต ต้องใช้ปุ๋ยทางดินสูตร โยกหน้า + ปุ๋ยอินทรีย์ อีกนิดหน่อย ทุก 7 วันจะทำให้มะนาวโตเร็วขึ้น กว่า การให้มะนาวนานๆ ครั้งแน่นอน ดังนั้น จงขยัน หากอยากให้มะนาวดตไว ให้ปุ๋ยน้อยๆ แต่ให้บ่อยๆ ดีกว่า ครับ ไม่ใช่รอสองสามเดือน ถึงให้ปุ๋ยทีนึง ให้ปุ๋ยทางดินไปเลยครับ ให้ ทุก 7 วันจะดีมาก สูตรปุ๋ยโยกหน้าที่แนะนำคือ สูตร 21-7-14 ครับ
5 เกินเยียวยา จังซี่มันต้องถอน หากมะนาวมันดูโทรม เป็นโรคหนักมาก ตัดใจเลยครับ ถอนทิ้ง ปลูกใหม่จะดีกว่า แต่อย่าลืมฆ่าเชื้อ ในหลุมปลูกก่อนน่ะครับ เดี๋ยวปลูกใหม่แล้ว มะนาวจะโทรมอีกเหมือนเดิม นอกจากนี้ การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า จุ่มรากมะนาว ก่อนปลูก ยัง จำเป็นอยู่น่ะครับ อย่าลืม
วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ระบบน้ำในสวน มินิสปริงเกอร์ หรือ แบบหัวหยด เอาแบบไหนดี
ตอนนี้ ระบบในสวนมะนาวมีอยู่แค่ 2 แบบ
มาถึงตอนนี้ เรารู้ความจริงแล้ว คุณต้องเลือกแล้ว ว่าเอาแบบไหน จงเลือกอย่างฉลาดน่ะครับ
อย่าใช้ Verb To เดา เลย เชื่อผมเถอะ
- แบบมินิสปริงเกอร์
- แบบหัวหยด
เรามาดูกันดีกว่า ว่า น้ำหยด กับ มินิสปริงเกอร์ มันต่างกันอย่างไร
แบบหัวหยดสามารถปรับอัตราการไหลได้
แบบหัวมินิสปริงเกอร์ ที่หลากหลาย
ข้อดีของแบบ มินิสปริงเกอร์
- เป็นที่นิยมมากที่สุด ในประเทศไทย
- เทียบแล้ว ค่า แบบหัวมินิสปริงเกอร์ ถูกว่า แบบหัวหยด
- น้ำกระจายตัวได้ดี
- ประหยัดน้ำ
ข้อดีของแบบ หัวน้ำหยด
- ประหยัดน้ำมาก
- หัวไม่ค่อยตัน ดูแลง่าย
- ไม่ต้องการแรงดันน้ำมาก
- การออกแบบระบบน้ำง่ายกว่า
ย้ำ ตรงนี้ ครับ ที่ชาวสวนมะนาวเข้าใจผิด กันทั้งประเทศ ว่าหัวน้ำหยด ตันง่าย จัดการยุ่งยาก ตรงกันข้ามเลย ทำสวนมะนาวมา นาน 11 ปี หัวน้ำหยด ตันยากกว่า หัวมินิสปริงเกอร์มาก แก้หัวตันง่ายมากแค่ สี่วินาที จบเลย เพราะหัวน้ำหยด ปรับอัตราไหลได้ นั่นเอง แค่เพียง ปรับให้ไหลแรงๆ ก็หายตันแล้ว แต่ ข้อมูล ส่วนใหญ่ ในหนังสือ มักเขียนแบบผิดๆว่า หัวน้ำหยดตันง่าย ต้องมีระบบกรองที่ดี โกหกทั้งเพ ที่สวนมะนาวเภสัชเอก ไม่ใช้หัวกรองอะไรเลย น้ำไหลแรงผุดๆ ไม่มีปัญหาเลยด้วยซ้ำ
ข้อเสียของแบบ มินิสปริงเกอร์
- ต้องมีการออกแบบระบบน้ำที่ดี
- หัวมินิสปริงเกอร์ตันได้ง่าย ต้องล้างบ่อยๆ
- ต้องการแรงดันน้ำสูง ต้องเปิดน้ำทีละโซน
ข้อเสียของแบบ หัวน้ำหยด
- ต้องใช้ สองหัวหยด ต่อมะนาว 1 ต้น
- ชาวสวนมะนาวนิยมใช้น้อยกว่ามินิสปริงเกอร์มาก
- ต้อง ขยับตำแหน่งหัวหยอด ทุกเดือน
มาถึงตอนนี้ เรารู้ความจริงแล้ว คุณต้องเลือกแล้ว ว่าเอาแบบไหน จงเลือกอย่างฉลาดน่ะครับ
อย่าใช้ Verb To เดา เลย เชื่อผมเถอะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)