เมื่อเข้า ฤดูฝน หากฝนตกมามากๆ จะเกิด ปัญหา ตามมามากมาย
โดยเฉพาะ โรคที่มากับ ฤดูฝน ไม่ว่าจะเป็น โรคแคงเกอร์ เชื้อราดำ
โรครากเน่า โคนเน่า ราน้ำหมาก หนอนกินใบ น้ำท่วม นอกจากนี้
การที่ฝนตกบ่อยๆ จะ ทำให้ มะนาว มะกรูด ส้ม แตกใบอ่อน ออกมามาก
มากจนเกินไป ทำให้ การสังเคราะห์แสง ด้อยประสิทธิภาพลงมาก
เพราะใบอ่อน ที่เกิดใหม่ สังเคราะห์แสง ได้ น้อยมาก กว่าใบแก่
หลายเท่าตัว ต่อมา กิ่งใบที่แตกออกมามาก ในฤดูฝน ทำให้ ทรงพุ่ม
แน่น เกิดความชื้นสูง ใบที่อยู่ด้านใน ลึกๆ จะถูกแสงแดด น้อยมาก
ทำให้เกิด โรคแคงเกอร์และเชื้อราตามมา สุดท้ายมี พายุ ลมแรง
อาจทำให้มะนาว โค่นล้ม หรือ กิ่งฉีกหัดได้ ผมมีวิธีการรับมือดังนี้
1 ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง กิ่งใบด้านใน ต้องตัดทิ้งให้หมด จะช่วย
ในแง่ การสังเคราะห์แสง การลดการเกิดโรค และ ลดการฉีกหักของ
กิ่งอีกด้วย
2 พ่นยาป้องกันโรคแคงเกอร์ และ เชื้อรา ต่างๆ ดีที่สุดแนะนำ ตัว
Super C เพราะปลอดภัยและฤทธิ์ แรงกว่า พวกคอปเปอร์ หากไม่มี
อาจใช้พวก คอปเปอร์ได้ แต่อย่าใช้บ่อย เพราะมีพิษสะสม จากตัว
ทองแดง ที่เป็นโลหะหนัก
3 มัดค้ำลำตั้นหลักของต้นมะนาว และ กิ่งที่มีแนวโน้มจะหักโค่น
อาจใช้การค้ำกิ่งที่ลำต้นหลักก่อน แล้ว หาไม้มารองกิ่งที่อาจจะหักได้
4 จัดการเรื่องระบบระบายน้ำให้ดี เพราะฝนตกมากๆ อาจมีน้ำท่วมขัง
เมื่อมีน้ำขัง อาจเกิดรากเน่า โคนเน่า จากเชื้อรา หรือ เซลรากพืช อาจ
ตายเพราะ ขาดออกซิเจนก็ได้ ดังนั้น การระบายน้ำที่ รวดเร็ว โดยอาจ
มีเครื่องสูบน้ำ ช่วยเป็นสิ่งจำเป็น
5 บำรุงต้นมะนาว ด้วยปุ๋ย และ ธาตุอาหาร ให้ครบถ้วน อย่างน้อยเดือนละครั้ง
เนื่องจากหน้าฝน พืชจะโตเร็วมาก การเสริมปุ๋ย ธาตุอาหารเป็นสิ่งจำเป็น
เพราะอาจขาดอาหารได้ และ การเติมเชื้อราไตรโคครเดอร์ม่าลงดิน จะช่วย
ให้ มะนาว มะกรูด มีภูมิต้านทานโรคอีกด้วย
6 การป้องกันโรครากเน่า โคนเน่า
- โดยใช้ Killer B ที่หมัก แล้ว ผสมน้ำ ราดดินรอบๆ ทรงพุ่ม ทุก 6 เดือน
- หรือ ใช้ เชื้อราไตรโครเดอร์ม่า ที่ ขยายแล้ว ผสมน้ำ ราดดินรอบๆ ทรงพุ่ม ทุก 6 เดือน
เรียนรู้ การหมัก Killer B คลิก
ประโยชน์ ของ Killer B และ ไตรโคเดอร์ม่า ที่ คล้ายกันคือ
- ช่วยป้องกัน โรครากเน่า โคนเน่า
- ช่วยปรับปรุง คุณภาพดิน
- ช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานให้แก่พืช
การขยายเชื้อ ไตรโครเดอร์ม่า