วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

เดือนแรกในการปลูกมะนาวให้ประสบความสำเร็จ

           

               ในตอนแรกที่เราปลูกมะนาว จากกิ่งตอน หรือ กิ่งชำ แนะนำให้ ตัดแต่งกิ่งใบ ตามสมควร แล้วให้ฆ่าเชื้อกิ่งพันธุ์ที่ได้ด้วย Super C เสียก่อน โดยแช่นาน 30-40 นาที หลังจากนั้น นำกิ่งมะนาว ชำลงถุงเพาะก่อนโดย ควรอนุบาลไว้ในร่มอย่างน้อย 14 วัน แล้ว จึงนำถุงชำมาออกแดด สัก  7  วัน ก่อนจะปลูกจริง เพื่อที่จะทำให้รากมะนาวมีความสมบูรณ์มากขึ้น โดยเราจำเป็นต้อง ควบคุมโรคต่างๆ ตั้งแต่ตอนชำมะนาวลงถูกโดยเฉพาะโรคแคงเกอร์ และ โรครากเน่าโคนเน่า สำคัญมาก  โดยในช่วงนี้ ให้มีการพ่น ยา Killer B ให้ทั่วทุกกิ่งใบ เพื่อกวาดล้างโรคแคงเกอร์ให้สิ้นไป ในการ


ปลูกมะนาวควรขุดหลุมให้ลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตรก็พอ ไม่มีความจำเป็นต้อง ขุดลึกกว่านี้ โดยต้องมีการปรับความเป็นกรดด่างของดินให้อยู่ในช่วง 6.0 - 7.0 จะดีที่สุด ก่อนหลังจากนั้น ขั้นตอนต่างๆ ที่ มีในการปลูกมะนาว เป็น ดังนี้


  • ขุดหลุมกว้าง 30 เซนติเมตร ลึก 10-15 เซนติเมตร 
  • ปรับ pH ดินให้ได้ 6.0 ถึง 7.0 โดยมากจะใช้ปูนขาว หรือ โดโลไมท์

  • จุ่มรากมะนาวด้วยไตรโครเดอร์ม่า ที่หมักใหม่ๆ ด้วยข้าวสวย

  • รองก้นหลุมด้วย สตาร์เกิ้ลจี 1-2 ช้อนชา หรือ ฟิโพรนิล  ผงสีม่วง 1 ช้อนชา
  • ใช้ไม้ค้ำ ปักเฉียงกับลมต้นทำมุม 60 องศา มัดพอแน่น
  • ราดสารป้องกันโรครากเน่า ที่รอบๆ หลุมปลูก เช่น เมทาแล็กซิล หรือ Killer B ที่หมักแล้ว
  • รดน้ำวันละ 1 ครั้ง รดทุกวัน ให้น้ำ พอดีๆ ไม่มากเกินไป
  • ให้ปุ๋ยยาร่า 21-7-14 ต้นละ 1 ช้อนชา  ต่อสัปดาห์ในสองเดือนแรก
  • กรณีมีหนอนแมลง ให้ ใช้ อิมิดาโคลพริด สลับ เซพวิน 85 ฉีดพ่นเพื่อควบคุม

  • กรณีแตกใบอ่อนให้ใช้ การพ่นยาฆ่าแมลง ตาม  สูตร 1-4-8
  • สร้างลำต้นหลักโดยมีการเลี้ยงหน้าแข้งให้สูง 60 เซนติเมตร ในกรณี ปลูกลงดิน  หากปลูกมะนาว ลงวงบ่อ ให้ มีการเลี้ยงหน้าแข้งให้สูง 30 เซนติเมตร  พอ
  • พยายาม สร้าง กิ่งหลักจำนวน 3 กิ่ง ที่ระดับ 60 เซนติเมตร 75 เซนติเมตร และ 90 เซนติเมตร ตามลำดับ โดยแต่ละกิ่งทำมุมกันประมาณ 120 องศา



อธิบายเพิ่ม

เชื้อไตรโครเดอร์ม่า
ความเป็นกรดด่าง
กิ่งกระโดง

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

ราน้ำหมาก หรือ เมลาโนส

ราน้ำหมาก หรือ เมลาโนส


เป็นโรคที่สำคัญ เกิดจากเชื้อรา ราน้ำหมาก จะทำลายผล และ ใบ มะนาว ทำให้ผล ใบมะนาว
มีสีดำคล้ำ สร้างความเสียหายหนักมาก เพราะ ทำให้ ขายผลมะนาวไม่ได้ หรือ ถูกกดราคามาก




ภาพแสดงใบส้มที่เป็นราน้ำหมาก




ภาพ รอยโรคราน้ำหมาก ใน พืชตระกูลส้ม



ภาพ รอยโรคราน้ำหมาก ในมะนาว

สาเหตุ  ราน้ำหมาก หรือ เมลาโนส  จากเชื้อรา  Diaporthe citri และความชื้นทำให้เกิดราน้ำหมาก 

การตัดแต่งกิ่งช่วยลดความชื้น และ เพิ่มแสงแดด  จะลดการเกิดโรคราน้ำหมากได้  



การักษารากน้ำหมาก

  • การตัดแต่งกิ่งใบที่เกิดราน้ำหมาก นำไปเผาทำลาย
  • ใช้ยาฆ่าาเชื้อรา พวกคอปเปอร์ หรือ ยา Super C พ่น 2-3 ครั้ง


วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

หนอนชอนใบ โจมตี มะนาว Citrus Leaf miner

หนอนชอนใบส้ม (Citrus Leaf miner)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ 



Phyllocnistis citrella Stainton







รูปร่างลักษณะ
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดเล็กมาก เมื่อกางปีกทั้งสองข้าง ความกว้างจากปลายปีกด้านหนึ่งจรดปลายปีกอีกด้านหนึ่ง ประมาณ 8 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีน้ำตาลปนเทา ปีกสีเทาเงิน และมีจุดสีดำอยู่บริเวณขอบปีก หลังจากผสมพันธุ์แม่ผีเสื้อจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ บริเวณใกล้เส้นกลางใบ ส่วนใหญ่พบด้านใต้ใบมากกว่าบนใบ ไข่จะฟักเป็นตัวหนอนภายใน 3 - 5 วัน หนอนระยะแรกมีสีเหลืองอ่อนโตเต็มที่ จะมีสีเหลืองเข้ม ก่อนเข้าดักแด้จะชักใยยึดริมขอบใบพันเข้ามาคลุมตัวแล้วเข้าดักแด้อยู่ในใบที่พันนั้น ดักแด้มีสีเหลืองเข้มหรือสีน้ำตาล มีหนามแหลมที่ปลายส่วนหัว ระยะหนอน 8-10 วัน ดักแด้อายุ 5-10 วัน ตัวเต็มวัยจะหลบอยู่ตามพงหญ้าบริเวณใต้ต้นส้ม รอเวลาที่จะวางไข่บนยอดอ่อนต่อไป


ผีเสื้อกลางคืน




ลักษณะการเข้าทำลาย
เมื่อหนอนฟักออกจากไข่ จะเจาะเข้าไปใต้ผิวใบทันที และกัดกินชอนไชอยู่ระหว่างผิวใบนั้น ทำให้เห็นเป็นทางขาว ๆ หากทำลายมาก ๆ ใบจะแห้งและร่วงหล่น ถ้าถูกทำลายมากทำให้พืชขาดอาหารที่จะสะสมไว้สำหรับการออกดอกและติดผล


การป้องกันและกำจัด

1. สุ่มสำรวจปริมาณหนอนชอนใบที่ยอดอ่อน 5 ยอด/ต้น และใบแต่ละยอด สำรวจที่ใบอ่อน 5 ใบ ต่อยอด ถ้าพบการทำลายมากกว่า 3 ใบ ให้ถือว่ายอดนั้นถูกทำลาย และให้ทำการป้องกันกำจัดเมื่อพบยอดถูกทำลายมากกว่า 50 % แต่ถ้าพบศัตรูธรรมชาติมากกว่า 25 % ไม่ต้องทำการป้องกันกำจัด

2. ตัดแต่งกิ่ง ใบ ที่ถูกหนอนชอนใบทำลายรุนแรงไปเผา

3. กำจัดวัชพืช แหล่งที่หลบซ่อนของตัวเต็มวัย หนอนชอนใบ

4. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ



5. ใช้สารสะเดาฉีดพ่นตั้งแต่ระยะแตกใบอ่อน สารเคมี เมื่อพบหนอนชอนใบเกินกำหนดที่ตั้งไว้ ใช้


  •  อิมิดาคลอพริด (Comfidor 10 % SL) อัตรา 8 มล./น้ำ 20 ลิตร
  •  ฟูเฟนนอกซูรอน (Cascade 5 % EC) อัตรา 6 มล./น้ำ 20 ลิตร
  •  ใช้ ปิโตเลี่ยม ออยล์ 40 มิลลิลิตร ผสม น้ำ 20 ลิตร จะช่วยได้เช่นกัน



วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

ไรแดงแอฟริกัน แมลงศัตรู ส้ม มะนาว

ไรแดงแอฟริกัน ภาษาอังกฤษ คือ african red mite 

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Euteranychus africanus  ( Tucker )



ไรแดงแฟริกัน  จะโจมตีที่ ใบมะนาว ใบส้ม ทำให้ใบมีจุดขาด ใบหลุดร่วงได้ ทำให้พืช ชะงักการเติบโต

มีผลทำให้ การติดดอก  อกผล ลดลง ชัดเจน   โดย  ไรแดงแอฟริกัน จะเข้าโจมตี   พืช ได้แก่ มะนาว ส้ม

 มะกรูด ส้มจีน ส้มโอ  แตงโม ตำลึง ฝ้าย ถั่วลันเตา  และ มะละกอ 


การป้องกันไรแดง  ช่วงอากาศแห้งแล้ว พ่น ละอองน้ำให้ทั่วสวน วันละ 1-2 ครั้ง




การรักษาไรแดง  ใช้ยาดังต่อไปนี้ 


  1. อามีทราช 30 มิลลิตร ต่อ น้ำ 20 ลิตร 
  2. โพรพาไกด์  30 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร 
  3. เมธาวาเรีย  300 กรัม ต่อ น้ำ 100 ลิตร ติดต่อ มือปืนการเกษตร (ปลอดสารพิษ )
  4. ทริปโตฟาจ 250 กรัม ต่อ น้ำ 100 ลิตร 

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

ขายครับ สินค้า 2 ตัว ที่จะทำให้โรคแคงเกอร์เป็นอดีต ที่ไม่หวนกลับ

กว่า 11 ปี ที่ผม อยู่ในวงการ คนปลูกมะนาว ผมรักในรสชาดเปรี้ยว ของมันดื่มน้ำมะนาว

แล้วมันสดชื่นจริงๆ มีแต่ สุราผมยังใส่มะนาวเลย 5555 แต่ สิ่งหนึ่งที่มารบกวนมะนาวที่รัก

ของผมมันก็คือ โรคแคงเกอร์ นั่นเอง ต้นมะนาวหากได้ติดโรคแคงเกอร์ไปแล้ว หายยาก

รักษาไม่หายเมื่อ 10 ปี ที่แล้ว ผมก็คิดแบบนี้ ผมพยายามเสาะหา ยามารักษาโรคแคงเกอร์



หลายปี ก็หาไม่ได้ จนมาวันหนึ่ง หายารักษาโรค มันเป็นหน้าที่ ของใคร ใช่ ยามันคือหน้าที่

เภสัชกร  เภสัชกรไม่ใช่แค่คนจ่ายยา เท่านั้น การผลิตยา การคิดค้นยาใหม่ เภสัชกรก็ทำได้

โอ้ จริงด้วยสิ วิชาต่างๆ มากมาย ทั้งระเบียบวิธีวิจัย สถิติ ระบาดวิทยา จุลชีววิทยา เภสัชวิทยา

การทบทวนวรรณกรรม ผมเรียนมาหมดแล้ว นั่นมันพอเพียง ที่ สามรถทำวิจัย หาวิธีการรักษา

โรคพืช จากแบคทีเรีย อย่างโรคแคงเกอร์ อยู่ จริงๆแล้ว แบคทีเรีย ตัวนี้ มันไม่ร้ายแรงเท่า




โรควัณโรค  หรือ โรคติดเชื้อในกระแสเลือด หรือ แม้แต่โรคเอดส์ด้วยซ้ำไป แต่แคงเกอร์

มันก็ยังหยามเกียตริ ผม ด้วยการโจมตีสวนมะนาวที่รักของผม มาหลายปีมาก มาปีนี้

ผมค้นพบวิธี รักษาโรคแคงเกอร์ให้หายขาดแล้ว โดยการใช้ 3 สิ่งนีั้ ก็คือ

  • ยา Super C ซุปเปอร์ซี
  • การตัดแต่งกิ่งใบจัดหนัก
  • ยา  Killer B คิลเลอร์บี 


วิธีและรายละเอียดดูได้ จากภาพด้านล่าง




ผมเภสัชเอก  นายศุภรักษ์ ศุภเอม ขอรับรองว่า หากใช้วิธีที่ผมไปแนะนำแล้ว 

โรคแคงเกอร์หายขาดแน่นอนครับ  ด้วยเกียตริ ของลูกผู้ชายเภสัชกรครับผม 

สนใจสั่งซื้อ  ยา Super C ซุปเปอร์ซี และ  ยา  Killer B คิลเลอร์บี 




หรือ ติดต่อ อีเมล newfrxbaby@gmail.com







วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

เจาะลึกเคล็ดวิชาการใช้ยาฆ่าแมลงขั้นเทพ

เจาะลึกเคล็ดวิชาการใช้ยาฆ่าแมลงขั้นเทพ 

1 การสลับกลุ่มในการใช้งาน
2 สูตร 1-4-8
3 เมื่อใดต้องใช้สารเคมี
4 ผสมผสานกำจัดแมลงแบบปลอดสารพิษ


อิมิดาโคลพริดผง



1 การสลับกลุ่มในการใช้งาน เป็นสิ่งจำเป็น ในการใช้ยาฆ่าแมลงให้ได้ผล  การใช้ ยาฆ่าแมลงเพียงชนิดเดียวเป็นเรื่องที่โง่เขลามาก  โดยยาฆ่าแมลงมี หลายกลุ่ม โดยผู้เขียนนิยมใช้ 5 กลุ่มนี้
อะบาเม็กติน


1.1 ยับยั้งอะซีติโคลลีน ได้แก่ คาร์บาริล และ คาร์โบซัลแฟน

1.2 ยับยั้ง กาบ้า ได้แก่ ฟิโพรนิล

ฟิโพรนิล

1.3 ควบคุมโซเดี่ยม ได้แก่ คาราเต้  ไซเปอร์เมตริน

1.4  คล้ายนิโคติน ได้แก่ อิมิดาคลอพริด  สตาร์เกิ้ล หรือ ไดโนทีฟูแรน

1.5 ควบคุมกลูตาเมท ได้แก่ อะบาเม็กติน อีมาเม็กติน-เบนโซเอต






2 สูตร 1-4-8   เป็นสิ่งจำเป็นที่ชาวสวนมะนาวไม่รู้ไม่ได้  ซึ่งก็คือ รูปแบบการพ่นยา สามครั้ง หลังแตกใบอ่อน ในวันที่ 1  วันที่ 4  และ วันที่ 8   มี จุดมุ่งหมาย เพื่อ ทำให้ใบอ่อน ไม่ถูกทำลายโดยเพลี้ย หนอน ในช่วงที่ใบอ่อนยังอ่อนแอ การพ่นยา  จำนวน 3 ครั้ง มากพอ จะทำให้ใบอ่อนปลอดภัย 100% จุดสำคัญคือ ชาวสวนมะนาว ต้องรีบพ่นยา วันที่ 1 ให้เร็วทันกาล และยังต้องใช้ยาฆ่าแมลง อย่างน้อย สองกลุ่ม เพื่อ ให้แน่ใจว่า หนอนแมลงจะไม่ดือยา 100% ผู้เขียน มีสูตร 1-4-8 มาฝาก 4 สูตรได้แก่



ก  1 อิมิดาโคลพริด 4  เซพวิน 85  8 ฟิโพรนิล
ข  1 ฟิโพรนิล  4 เซพวิน 85   8  สตาร์เกิ้ล หรือ ไดโนทีฟูแรน
ค 1 อิมิดาโคลพริด   4 ฟิโพรนิล   8 อะบาเม็กติน
ง 1 อิมิดาโคลพริด  4 คาราเต้  8 ฟิโพรนิล



อิมิดาโคลพริด


3 เมื่อใดต้องใช้สารเคมี  ผมมีหลักง่ายๆ สามข้อ คือ

  • เมื่อแตกใบอ่อน ให้เก็บรักษาไว้ เดือนละ 1 ครั้ง ในสูตร 1-4-8 ไม่จำเป็นต้อง รักษายอดอ่อนทุกครั้ง  ยกเว้น มะกรูด ซึ่งขายใบ อันนี้ ต้องรักษาทุกใบอ่อน ไม่ให้เสียหาย
  • มีการระบาดของหนอนแมลงมากพอไหม หากเล็กๆ น้อยๆ ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงก็ได้  หากระบาดเกิน 40% ของ ต้นไม้ทั้งหมด แสดงว่าระบาดมากให้ใช้ยาฆ่าแมลงได้ 
  • ช่วงที่เริ่มมีผลอ่อน แมลง หนอน จะเข้าทำลายผลได้ง่าย ตั้งให้ยาฆ่าแมลงเพื่อป้องกันผลอ่อน  ไม่ให้เสียหาย จาก หนอนแมลง สัก 2-3 ครั้ง

ปิโตเลี่ยม ออยล์



4 ผสมผสานกำจัดแมลงแบบปลอดสารพิษ การใช้สารเคมี อย่างเดียว ไม่ใช่เรื่องฉลาดเพราะ อาจทำให้แมลงเดื้อยา   และ การสะสมสารพิษมากขึ้น  การเลือกมาใช้ การป้องกัน กำจัดแมลงแบบอินทรีย์น่าสนใจได้แก่

  • การใช้ ปิโตเลี่ยม ออยล์ กำจัดหนอน แมลง เพลี้ย โดยพ่น 40 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร
  • การใช้เชื้อ บีที เพื่อปราบหนอน ทุก ชนิด
  • การใช้ ราบิววาเรีย กำจัด แมลง ต่างๆ
  • การใช้เมธาไรเซี่ยม กำจัดปลวก และ แมลงปีกแข็ง



บีที






















 โปรดติด ตาม ต่อ ไป กรุณา แชร์ต่อ เพื่อเป็นกำลังใจครับ
5 การพ่นฝอยเล็กแบบน้ำน้อย
6 ประหยัดไว้ดีกว่า
7 สารเคมีต้องมีทะเบียน
8 ชั่ง ตวง วัด
9 เลือกเอาสินค้าที่ผลิตใหม่ไม่เกิน 1 ปี
10 ปกป้องตนเองให้ดี
11 การกำจัดสารเคมีเหลือใช้ หรือ ขยะมีพิษ
12 ใช้สารลดแรงตรึงผิวทุกครั้ง
13 คุณภาพของน้ำที่ใช้ผสมยาฆ่าแมลง
14 ระวังยาที่เข้าน้ำมัน

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560

ความสำเร็จ อยู่ไม่ไกล ถ้าเข้าใจ 7 เหตุผล ที่ ทำให้สวนมะนาวไปไม่รอด

7 เหตุผล ที่ ทำให้สวนมะนาวไปไม่รอด


สำหรับใครหลายๆคน  ที่เข้ามาปลูกมะนาวหวังสร้าง รายได้ให้ครอบครัว

มีเกษตรกรหลายคน ประสบความสำเร็จ  สามาถทำเงินแสน เงินล้าน จาก

สวนมะนาวได้  แต่ก็มีมากมาย หลายคนที่ทำสวนมะนาว แล้วไม่ได้กำไร

ต้องทนอยู่ไปวันๆ   ในขณะที่บางคน ขาดทุนมากมาย จากมะนาว หลายคน

ต้องยอมแพ้ ยกธงขาวในการปลูกมะนาว ไปก็มี นี่คือเหตุผลที่ทำให้ชาว

สวนมะนาวไปไม่รอด


1 โรคแมลง รุมเร้าจนมะนาว ตาย หรือ หากรอดก็เลี้ยงไม่โต
2 เลือกพื้นที่ ที่มีปัญหาเรื่องน้ำ หรือ  ดิน อย่างรุนแรงยากเยียวยา
3 ไม่รู้จักวิธี ลดต้นทุนในการปลูกมะนาว ทำให้ขาดทุน
4 เลือกพันธุ์มะนาวที่ตนเองไม่มีตลาดรองรับ
5 ไม่สามารถทำมะนาวนอกฤดูได้  มีผลผลิตเฉพาะช่วงมะนาวล้นตลาด
6 เจ้าของสวนใจไม่สู้ ยอมแพ้ถอดใจง่ายดาย
7 เกษตรกร ไม่ยอมศึกษาเรียนรู้ อย่างจริงจัง อาศัยที่ประสบการณ์ อย่างเดียว


ทั้ง 7 ข้อ มีทางแก้ ก็ คือ เกษตรกร ต้องไปอบรมศึกษา หาความรู้อย่างจริงจัง โดยผู้เขียนแนะนำ
ให้ไป อบรมที่ศูนย์วิจัยไม้ผลเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
เพื่อที่จะมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง  สำหรับการเลือกพื้นที่สวนมะนาว ไม่ควรอยู่ติดกับ โรงพยาบาล และดินน้ำต้องไม่เค็ม  หรือ มีเกลือแร่มากไป     สำหรับการเลือกสายพันธุ์ที่ปลูก จะมี 2 แนวทางก็คือ

  • พันธุ์แป้นรำไพ แป้นพวง แป้นเกษตร ขายในตลาดบ้านเรา
  • พันธุ์ตาฮิติ ให้ขายในตลาดต่างประเทศ หรือ ........
  • พันธุ์แป้นพิจิตร 1 ต้องหา ตลาดก่อนปลูก ไม่งั้น ขายไม่ได้
 

        การทำมะนาวนอกฤดู   ทำให้ ขายผลมะนาวได้ราคาแพง  ดังนั้น ชาวสวนทุกคน ต้องฝึกฝนการ
ทำมะนาวนอกฤดูให้เก่ง ชำนาญเข้าไว้ ศึกษาการทำมะนาวนอกฤดูเพิ่ม คลิก

                   สำหรับการลดต้นทุนนั้น  มีความสำคัญ จากการสำรวจข้อมูล  ในงานวิจัยประเทศไทยพบว่าเกษตรกร  ยังสามารถต้น ค่าสารเคมี และ วัสดุทางการเกษตร แรงงานได้อีกประมาณ 50-70% เลยทีเดียว   ศึกษาการลดต้นทุนสวนมะนาว อ่านคลิกเลย 

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560

ลายแทงขุมทรัพย์ สวนมะนาวเงินล้าน

เป้าหมาย สวนมะนาวเงินล้าน ใน สี่ปี แบบรวยยั่งยืน

ทำกำไร จากสวนมะนาว ได้เกิน 1 ล้าน ใน ปี 2563
ปลูกมะนาว   4 ไร่
**แปลง แม่พันธุ์ 1 ไร่
**แปลงขายผล 3ไร่




รายได้ จาก ขายผล ไร่ละ 150,000 ผล ผลละ 2 บาท เป็น 300,000 บาท
ต่อไร่ คิดเป็น 900,000 บาท
รายได้จากการขายกิ่งพันธุ์ 500,000 บาท ต่อปี
รวม รายได้ รวม 1,400,000 บาท
ตุ้นทุนผันแปร ไร่ละ 50,000 บาท เป็น 200,000 บาท
ค่า fix cost ค่าจ้าง น้ำไฟ ฯลฯ 200,000 บาท

รวมกำไร สุทธิ 1,000,000 บาท
ไม่รวมการขาย Super C Killer B และ  Killer T


สรุป กำไร ต่อ ปั เกิน 1 ล้านบาทแน่ ภายใน 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563





Upgraded แผนสร้างเงินล้าน จาก สวนมะนาว

สร้าง แบรนด์ มะนาวเภสัชเอก เกรด  A++ ขายผลละ 3 บาท

  • GAP Passed 
  • ส่งตรวจปลอดสารพิษ 100%
  • น้ำมาก หอม ผิวสวย
  • มีสติกเกอร์ และ กล่องสินค้า มีนี่ห้อ
  • การตลาด Facebook Youtube ขอนแก่นลิงก์ Blogger 
รายได้ขายผลเป็นปีละ 1,500,000 บาท
รวมทั้งหมด 2,000,000 บาท กำไร สุทธิ 1.4 ล้านบาท ต่อปี 


วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2560

Super C ยาดี ที่ จะมาแทนที่ คอปเปอร์ อันตราย

                                      ชาวสวนส้ม สวนมะนาว คงคุ้นเคยกับ ยา กลุ่ม คอปเปอร์มานาน เพราะยานี้ ถือ

เป็นยาหลักที่สำคัญเลยทีเดียว  ในการใช้ ควบคุมโรคพืช ตระกูลส้ม ซึ่ง ก็คือ โรคแคงเกอร์  นั่นเอง



แต่อย่างไรก็ตาม ยากลุ่มคอปเปอร์ หรือ ทองแดง มี ข้อเสียที่ ไม่น่าให้อภัย อยู่ สองข้อก็คือ


  1. เกิดพิษ ต่อ มนุษย์ และ สิ่งแวดล้อม เพราะทองแดงคือโลหะหนัก มีพิษสะสมยาวนาน
  2. ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อต่ำจัดอยู่กลุ่ม Low Level ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคแคงเกอรืให้หมดไปได้

               

               ผมเภสัชเอก จึงได้ วิจัย หายาใหม่ มาทดแทน ยากลุ่ม คอปเปอร์ หรือ ทองแดง ซึ่งเป็นที่มาของยา Super C โดยยานี้ มี ส่วนผสม ของ สารเคมี ที่มี ชื่อว่า potasium hypochlorite ที่มีประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรคเหนือกว่า ยาพวกคอปเปอร์ อย่างโดดเด่น และ ชัดเจน โดยที่ยานี้ สามารถ กำจัดเชื้อรา  แบคทีเรีย  และ ไวรัส ได้เกือบทุกชนิด  โดยที่ยา Super C นั้นมี ความปลอดภัย มากกว่า กลุ่มคอปเปอร์ 



เนื่องจากยานี้    สามารถระเหยเป็น   แก๊สได้ ภายใน 24 ชั่วโมง ทำให้ ไม่มีพิษตกค้างเหลือ สู่ผู้บริโภค หรือ สิ่งแวดล้อมอย่างแน่นอน โดย ตัวยา  potasium hypochlorite  หรือ Super C ใช้ ผสมน้ำดิบ เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำ  สำหรับการผลิต น้ำดื่มมานานกว่า 50 ปี แล้ว จึงเป็นที่แน่ใจได้ว่า ยานี้ สามรารถใช้ได้อย่างปลอดภัยใน มนุษย์  โดยตัวยา Super C จะประกอบด้วย  potasium hypochlorite  และ บัฟเฟอร์ เพื่อ ทำให้ยามีความคงตัวดี และ ปลอดภัยมากขึ้น

จากการทดสอบเบื้องต้น พบว่า ยา Super C นี้ สามารถกำจัดโรคพืชได้หลาสยชนิดได้แก่

  • โรคแคงเกอร์
  • โรคไวรัสวงแหวนในมะละกอ
  • โรคไวรอยด์ในมะเขือเทศ
  • โรคกรีนนิ่งในส้ม
  • โรคเชื้อราน้ำหมาก หรือ เมลาโนส
  • โรคสแค๊บ
  • โรคราสนิม
  • โรคทริสเตซ่า CTV

โรคกรีนนิ่ง



การใช้งาน Super C
  1. Super C 1 ซอง ผสมน้ำ 60-120 ลิตร  ( ไม่ต้องผสม สารจับใบ )
  2. นำไปฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช ใน ตอนเย็น หรือ ตอนอากาศไม่ร้อน
  3. Super C ออกฤทธิ์เร็วมาก หากไม่มีฝนตกใน 45 นาที แสดงว่า ใช้ได้
  4. พ่น Super C ซ้ำอีก 1 ครั้งใน สามวันต่อมา


การขายยา Super C สั่งซื้อโดยโอนธนาคาร




วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560

โรคแคงเกอร์ สิ้นไป เพราะมี สินค้าแห่งความภูมิใจ ฝีมือคนไทย ต้อง Killer B ครับ


สินค้าแห่งความภูมิใจ ฝีมือคนไทย ต้อง Killer B ครับ

เภสัชเอก

สวัสดีครับ เพื่อนๆ ชาวสวนมะนาว สวนส้ม ส้มโอ และ สวนมะกรูด ทุกท่าน ผมเภสัชเอก

จะมาเล่าสู่กันฟังว่า  เจ้าโรคแคงเกอร์ที่ผม สามารถปราบมันได้ อย่างราบคาบ ด้วยตัวยา

ที่ผมคิดค้น ขึ้นมา ชื่อว่า คิลเลอร์บี (  Killer B ) ซึ่งเป็น แบคทีเรีย โปรไบโอติค มันมีที่มาอย่างไร

โรคแคงเกอร์


ย้อนไปเมื่อ 11 ปีก่อน ผมเริ่มปลูกมะนาว เริ่มจากพันธุ์แป้นจริยา  แป้นรำไพ แป้นพิจิตร

ก็ต้องพบเจอปัญหาอันหน้าปวดหัว คือ โรคแคงเกอร์  โดยเฉพาะแป้นรำไพ โรคจะเยอะมาก

สมัยก่อน ตอนนั้น ก็พยายามไปหายามารักษา โรคแคงเกอร์ เริ่ม จากฟังกูราน กับ อะบาเม็กติน

แคงเกอร์ ก็ไม่หาย ยังเป็นอยู่ ต่อมาไปตลาดไปได้ยา แคงเกอร์เอ็กซ์ ไม่มีทะเบียนมากระปุกหนึ่ง

คิลเลอร์บี Killer B


แรกๆ ก็ได้ผลดี  แต่พอมาช่วงหลังเมื่อแคงเกอร์กลับมาอีก ยานี้ก็เอาไม่อยุ่ ตอนนั้น ด้วยความ

เป็นเภสัชกร ผมเลยไปอ่านงานวิจัย พบว่า คลอแรมเฟนนิคอล น่าจะพอได้ผลกับโรคแคงเกอร์

คือได้ผลราว 72% เลยทีเดียว ซึ่งถือว่า สุงมาก  แต่ ถึงกระนั้น โรคก็ไม่หายขาด ประกอบกับ

ยาคลอแรมเฟนนิคอล หายากมาก ทำให้ ผมคิด หาทางออก ได้ว่า เมื่อมีโจรร้าย  มาทำลายเรา

หากตำรวจ ทำไม่ได้ เราต้อง เอาโจรมาปราบโจร เข้าตำราที่ว่า หนามยอกเอาหนามบ่งนั่นเอง

เมื่อโรคแคงเกอร์ เกิดจากแบคทีเรีย เราก็เอา แบคทีเรียมาปราบ ประเทศไทย เราโชคดี ที่มีอาหาร

ที่ให้แบคทีเรีย ประเภท โปรไบโอติค คล้ายๆ ยาคูลท์ใน ขนมถั่วเน่า  มีแบคทีเรีย หลายสายพันธุ์ที่

ปลอดภัยต่อมนุษย์  และมี แนวโน้ม จะสามารถทำลายแบคทีเรียก่อโรคแคงเกอร์ ได้ ในที่สุด

ผมก็ได้ทดลองใน ปี 2557 แยกเชื้อแบคทีเรีย จาก ขนมถั่วเน่า ได้ ใน 1 ปี และ ใช้แบคทีเรียกลุ่ม

ผลการใช้แบคทีเรีย จาก ขนมถั่วเน่า


นั้น (มีหลายสายพันธ์) มาขยายเชื้อ  แล้ว นำไปทดลอง รักษาโรคแคงเกอร์ในมะนาว 4 สายพันธุ์

ได้แก่ แป้นรำไพ แป้นพวง แป้นดกพิเศษ และ แป้นพิจิตร จากการทดลองในเวลา 2 ปี พบแล้วว่า

กลุ่มแบคทีเรีย ที่สกัดจากขนมถั่วเน่า นั้น สามารถรักษาโรคแคงเกอร์ได้ผลดีมาก โดยมีผลลัพธ์

เหนือกว่า ยา ประเภทคอปเปอร์  และ ยาสเตรปดตมัยซิน อย่างชัดเจน จึงเป็นที่มา ของสินค้า

มะนาวติดแคงเกอร์หนักมาก


ที่ เภสัชกร อย่างผม ภูมิใจมาก ผมเภสัชเอก ผลิต  คิลเลอร์บี (  Killer B ) ที่ปราบโรคแคงเกอร์

รากเน่าโคนเน่า ในมะนาวได้สำเร็จแล้วครับ มันได้ผลดีมาก  ปลอดสารพิษ และประหยัดอีกด้วย


คลิปแนะนำโรคแคงเกอร์



คลิป 2

คลิป 3 



รายละเอียดการขายสินค้า Killer B



การใช้งาน สินค้า Killer B




การเตรียม Killer B คิลเลอร์ บี ป้องกันโรครากเน่า
1.        Killer B คิลเลอร์ 1 ซองเล็ก ผสม แลคตาซอย 2 กล่อง รวม 600 มล.
2.        เติม น้ำตาล  1 ช้อนชา หมัก นาน 24 -48 ชั่วโมง  เปิดฝาทิ้งไว้
3.        แบ่งยา Killer B คิลเลอร์ บี ที่หมัก แล้ว 100 มิลลิลิตร ต่อ น้ำ 20 ลิตร
4.        นำไปรด Killer B คิลเลอร์  บี ที่หมักแล้ว โคนต้น และ ราดดินทรงพุ่มมะนาว
5.        อีก 7 วัน รด Killer B คิลเลอร์ บี ซ้ำอีก 1 ครั้ง
6.        ในการป้องกัน โรครากเน่าโคนเน่า ราด Killer B คิลเลอร์ บี ซ้ำ ทุก 5 เดือน



การใช้ Killer B คิลเลอร์ บี รักษาโรคแคงเกอร์
1      Killer B คิลเลอร์ 1 ซองเล็ก ผสม แลคตาซอย 2 กล่อง รวม 600 มล.
2      เติม น้ำตาล  2 ช้อนชา หมัก นาน 3 ถึง 10 วัน  เปิดฝาทิ้งไว้ เขย่า ขวด  หรือ ให้
            ออกซิเจน วันละ 20 นาที
3.      แบ่งยา Killer B คิลเลอร์ บี ที่หมัก แล้ว 100 มิลลิลิตร ต่อ น้ำ 20 ลิตร
4.      ฉีดพ่นให้ทั่ว ต้นมะนาว ให้ พ่นโดนทุกใบมะนาว
5.      ฉีด Killer B คิลเลอร์ บี  ซ้ำ  ในวันที่ 1   4   8  15 และ 21  กรณี โรคแคงเกอร์ไม่มาก (5 ครั้ง)
6.      หากเป็นโรคมาก ควร พ่น Killer B คิลเลอร์ บี  ในวันที่  1      2     4    8   11  15 และ 21 ( 7 ครั้ง)

7.      ฉีด ซ้ำ ทุก 2 เดือน เพื่อ ป้องกันโรคแคงเกอร์ระบาดซ้ำในปี แรก ปี ถัดไป พ่น Killer B ทุก 4 เดือน 



วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

หมดปัญหา ขายมะนาวไม่ได้ปลูกแป้นรำไพ ปลอดโรค

แป้นรำไพ ขายง่าย ราคาดี แต่ดูแลยาก แคงเกอร์กวน วันนี้เรามีทางแก้

หมายความว่า หาก เบื่อ แป้นพิจิตร ที่ ขายยาก เรามีทางออก ดังนี้ ในการปลูกมะนาว

แป้นรำไพ เพื่อขาย แบบไม่โดนแคงเกอร์กวน ให้ทำ แบบนี้ 7 ข้อ


1 ใช้กิ่งพันธุ์แป้นรำไพปลอดโรคแคงเกอร์ สามารถสั่งจองล่วงหน้าได้ ราคากิ่งละ 50 บาท


2 หากไม่แน่ใจ แช่กิ่งด้วย น้ำยาฆ่าเชื้อ อะไรก็ได้ ในกิ่งตอนที่เราได้มา ยกตัวอย่าง ด่างทับทิม  1 ขวด  ต่อน้ำ 1000 ลิต ไฮโดรเจน เพอออกไซต์ 200 มิลลิลิตร ต่อ น้ำ 40 ลิตร แช่นาน  30 นาที ที่แนะนำ คือ Super C


3 เพาะไตรโครเดอร์ม่า จุุ่มรากมะนาวก่อนปลูก แนะนำ ของ ม.เกษตร กำแพงแส ราคาขวดละ 100 บาทสามารถ ขยายเชื้อ ได้ โดยผสมกับข้าวสวย 0.5 kg ต่อ ผงไตรโคเดอร์ม่า 1 เหยะาะ รอหมักกับข้าวสวย นาน3-5 วัน เชืื้อ จะเจริญดี




4 ปรับ ความเป็นกรดด่างของดิน ได้ 6.0-7.0 โดยวัดค่ากรดด่างของดิน ทุก 6 เดือน และใส่ปูนขาว หากพบว่าดินเป็นกรดจัด



5 เลี้ยงหน้าแข้ง สูง 2 ฟุต กรณีปลูกลงดิน  ส่วนปลูกวงบ่อ หน้าแข้งสูง 1 ฟุต พอ


6 ตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดส่องทั่ว  โยตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง แสงส่องถึง ทุก 4 เดือน




7 เติม ไตรโคเดอร์ม่า ให้ต้นมะนาว ทุก 6 เดือน โดยผสมน้ำ ราดทรงพุ่มและใบ จะช่วยป้องกันแคงเกอร์ และรากเน่าโคนเน่าได้อีกด้วย


8 ใช้ Killer B หมักกับ แลคตาซอย พ่นป้องกัน โรคแคงเกอร์ ทุก  2 เดือน 

การผสม Killer B
นำ Killer B 1ซอง แลคตาซอย 500 มล. + น้ำตาล 5 ช้อนชา  ผสมให้เข้ากัน  เขย่าแรงๆ
ในขวดน้ำสะอาดขนาด มากกว่า 1 ลิตร เปิดฝา ทิ้งไว้ 72-86 ชม.ในที่ร่มเปิดฝา เขย่า บ่อยๆ


คิลเลอร์บี


การใช้งาน Killer B
แลคตาซอย หมัก Killer B 100-200 มล (เขย่าก่อน). ผสม น้ำ 20 ลิตร และ น้ำยาล้างจาน 20 มล.

พ่นมะนาวได้ 1 ไร่ หรือ มะนาว  100-200 ต้น  ควรพ่นตอนเย็น จะดีกว่า